บทความ

บทเรียนตามธรรมชาติ บทเรียนทรงคุณค่าที่ได้มาฟรีๆ (Natural Consequences)

รูปภาพ
ถ้าพูดถึงการสอนลูกให้รู้ผิดถูก ให้รู้ผลจากการกระทำ หลายคนมักนึกถึงการลงโทษหรือการตัดสิทธิพิเศษบางอย่าง เช่น ถ้าไม่กินข้าวจะอดออกไปเล่น ถ้าไม่ทำการบ้านแม่จะดุจะตี ซึ่งการวางบทลงโทษแบบนั้นมักมีราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อสอนลูก ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับลูกที่แย่ลง ความเครียดที่เราต้องเจอเพื่อสรรหาบทลงโทษที่คิดว่าเหมาะสมกับลูกเพื่อสอนลูก หรือจะเป็นความเหนื่อยที่เราต้องทนบังคับลูกให้ทำ วันนี้รินขอแนะนำบทเรียนตามธรรมชาติ ที่ถ้าเราใช้เครื่องมือชนิดนี้เป็น ลูกเราจะได้เรียนรู้โดยที่เราไม่ต้องจ่ายอะไรเลยค่ะ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ทุกอย่างในโลกนี้เป็นเหตุเป็นผลของมันอยู่แล้ว เราต้องกิน ไม่กินเราก็หิว เราต้องทำการบ้าน ไม่ทำเราก็โดนครูลงโทษ สิ่งเดียวที่เราต้องทำคือ อย่าเข้าไปปกป้องลูกจากบทเรียนตามธรรมชาตินั้นๆ ถ้ามันไม่รุนแรงจนเกินไป ลูกไม่รักษาของเล่นจนมันพังก็อย่ารีบซื้อของเล่นให้ใหม่ ลูกไม่กินข้าวจนหิวก็อย่าสรรหาขนมมาให้กินรองท้อง วิธีการใช้ 1) คิดก่อนว่า อะไรคือผลกระทบตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่กินก็จะหิว ถ้าไม่เก็บของเล่น ของเล่นก็จะหายแล้วอดเล่น ถ้าไม่ทำการบ้าน...

งานบ้านสร้างชาติ

รูปภาพ
เคล็ดลับดีๆ ที่จะสร้างลูกให้มีความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว มีความรับผิดชอบ สร้างวินัย ได้หัดวางแผน ได้ฝึกสมอง ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสิ่งที่มีอยู่ในทุกบ้าน .. "งานบ้าน" ค่ะ ไม่เชื่อใช่มั้ยคะ มาดูกันว่างานบ้านมีดีอะไร ทำไมถึงได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ 1) งานบ้านเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง ได้เห็นผลงานของตัวเอง เมื่อเด็กทำอะไรสำเร็จด้วยตัวเอง เด็กก็จะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง มีความมั่นใจ 2) งานบ้านเป็นงานของครอบครัวที่ทุกคนต้องช่วยกัน การช่วยกันดูแลบ้าน ทำให้เด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว 3) งานบ้านเปิดโอกาสให้ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก 4) งานบ้านที่ดีต้องมีการวางแผน จะทำกับข้าวก็ต้องวางแผน จะกวาดบ้านก็ต้องคิดว่าจะกวาดตรงไหนก่อน เดินตามไม้กวาด หรือเดินนำไม้กวาดดี? ยิ่งงานบ้านเยอะ การวางแผนก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นค่ะ 5) งานบ้านเป็นสิ่งที่เหนื่อย น่าเบื่อ แต่ต้องทำ และทำทุกวัน ทำให้เด็กมีความอดทน ความรับผิดชอบ และวินัยในตนเอง เห็นมั้ยคะ ว่างานบ้านมอบทักษะการใช้ชีวิตดีๆ ให้กับลูกมากมายแบบที่เราคาดไม่ถึงเลย เริ่มอยากให้ลูกได้ช่วย...

สิ่งจำเป็นพื้นฐาน 4 อย่าง (Maslow's hierarchy of needs - 4 basic needs)

รูปภาพ
บทความนี้อ้างอิงจากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และส่วนหนึ่งของหนังสือชื่อ A Parent's Guide to Gifted Children และ If I Have to Tell You One More Time นะคะ รินคิดว่าพวกเราส่วนใหญ่เคยได้เรียนหรือได้ยินทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มาแล้วทั้งนั้น แต่ลืม (รินก็เช่นกัน) จนวันนึงที่รินมีลูก เจ้าทฤษฎีนี้มันกลับมาวนเวียนอีกครั้ง และทำให้รินได้เข้าใจลูกมาขึ้น รินจะเล่าให้ฟังว่ามันเกี่ยวกับลูกเรายังไง แล้วเราจะนำมันไปใช้ยังไง ก่อนอื่น เพื่อความเข้าใจตรงกัน ความต้องการในที่นี้ มาจากภาษาอังกฤษว่า need นั่นคือ มันไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย มันเป็นสิ่งจำเป็น ขาดไม่ได้ เหมือนอากาศ เหมือนอาหาร เราต้องผ่านแต่ล่ะลำดับไปเพื่อสู่ลำดับถัดไป ทฤษฎีของมาสโลว์ว่าไว้ว่า มนุษย์เรามีลำดับขั้นความต้องการดังนี้ค่ะ  ลำดับที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) ลำดับที่ 3 ความต้องการความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Belonging and love needs) ลำดับที่ 4 ความต้องการการยอมรับ (Needs for esteem) ลำดับถัดๆ ไปจะเป็นเรื่องการเรีย...

ลูกดื้อมาก ทำอย่างไรดี?

รูปภาพ
"ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟังแบบนี้ เหมือนเราเป็นแม่ที่ไม่อบรมลูก เลี้ยงลูกไม่เป็น .. ถ้าใครกำลังมีความทุกข์กับการที่ลูกไม่เชื่อฟังอยู่ หันมาฟังทางนี้ค่ะ  การที่ลูกไม่เชื่อฟัง เป็นเรื่อง "ปกติ" ของพัฒนาการเด็ก และเป็น"เรื่องที่ดี" ค่ะ เพราะการที่เด็กดื้อ แปลว่าเขาตระหนักว่าความคิดเห็นของเขาเป็นสิ่งสำคัญ การที่เขากล้าเถียง นั่นแปลว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากพอที่เขาจะกล้าแสดงความคิดเห็นของเขาออกมา เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองจะมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่าด้วยค่ะ "ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟั...

ทำอย่างไรดี เมื่อผู้ใหญ่ในบ้านเห็นไม่ตรงกัน

รูปภาพ
รินคิดว่าความขัดแย้งกันในเรื่องของแนวทางการเลี้ยงดูเด็กและรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เป็นปัญหาใหญ่ของทุกๆ ครอบครัวเมื่อมีเจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นสมาชิกในบ้าน เพราะถึงแม้ทุกคนจะรักและหวังดี แต่ทุกคนก็มีความคิดเป็นของตัวเอง เราก็เลยมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยๆ และอย่างที่ทุกคนรู้กัน เด็กๆ ต้องการความสม่ำเสมอในกฎระเบียบต่างๆ ถ้าในครอบครัวมีแนวทางไม่ตรงกันก็มักจะเกิดปัญหาว่า คนนี้ไม่ให้งั้นหนูวิ่งไปขออีกคนก็ได้ สุดท้ายแล้วขอบเขตก็ไม่เป็นขอบเขต เด็กโตมาแบบไม่มีขอบเขต มีปัญหาเอาแต่ใจ หรือเกิดสถานการณ์แม่ใจร้ายพ่อใจดีในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่เข้มงวดกว่าไม่ดีนัก พอปัญหาเรื้อรังหมักหมมไว้นานเข้า สุดท้ายก็จะมีคนเริ่มทนไม่ไหว เริ่มขัดแย้งกับอีกฝ่ายต่อหน้าลูก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ เลยค่ะ เด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะเขา เด็กบางคนเรียนรู้ว่าถ้าไม่เห็นด้วยให้ทะเลาะกัน ยิ่งเสียงดังยิ่งชนะ ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายที่ยอมให้ก็จะดูไม่มีอำนาจ ไม่น่าเชื่อถือในสายตาลูก ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงกับปัญหานี้กันดี ก่อนอื่นต้องเลิกบอกว่าอีกฝ่ายต้องทำหรือต้องไม่ทำอะไรก่อนค่ะ ยิ่งสั่งยิ่งต่อต้าน...

Time-in / มุมสงบ / ธรรมชาติบำบัด ทางเลือกช่วยลูกสงบอารมณ์นอกจาก Time-out

รูปภาพ
จากที่เล่าไปในตอน Time's up for time-out?  การทำ Time-out ไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน อย่างลูกรินเองก็ใช้ Time-out ไม่ได้ เพราะลูกเป็นเด็กที่เซ้นสิทีฟมากกกกกกก รินขอแนะนำทางเลือกอื่นที่รินใช้เพื่อช่วยให้ลูกสงบแล้วได้ผลดีค่ะ อย่างแรกเลยที่รินใช้บ่อยสุดและชอบที่สุด Time-in 1) Time-in Time-in (ไทม์อิน) คือ การที่เราจะเข้าไปประกบลูก เมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือทางอารมณ์ เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง เราจะใช้ความสงบของเราช่วยลูกให้ผ่อนคลายลง และใช้การชี้นำของเราให้ลูกคิดได้ค่ะ วิธีการทำ time-in เราจะเริ่มจากการสัมผัสตัว กอด ประกบไว้ พาไปหามุมที่สงบและรู้สึกสบายด้วยกัน จะเป็นโซฟาที่บ้านหรืออะไรก็ได้ค่ะ แล้วเริ่มพูดคุยด้วยการรับฟัง แสดงความเข้าใจ สะท้อนสิ่งที่ลูกกำลังรู้สึก บอกลูกว่าลูกกำลังรู้สึกอะไร ปลอบให้ลูกสงบ และชวนคิดหาทางออกเมื่อลูกสงบแล้ว การทำ time-in จะเริ่มต้นยากนิดหน่อยถ้าอารมณ์ที่ลูกมีในตอนนั้นเป็นอารมณ์โกรธไม่ใช่อารมณ์เศร้า หรือผิดหวัง เพราะลูกจะไม่ยอมให้เรากอดง่ายๆ ค่ะ เทคนิคคือ ให้กอดลูกไว้จากด้านหลังแทน เราจะได้ไม่เจ็บตัวจากการที่ลูกดิ้นหรืออาละ...

แม่ไม่เข้าใจหนู!

รูปภาพ
เคยคิดกันเล่นๆ มั้ยคะ ว่าอยากให้ลูกโตมาเป็นคนแบบไหน เพื่อนๆ รินเคยคุยกันสมัยจบใหม่ๆ ยังไม่มีลูก มีคนนึงตอบคำถามได้ประทับใจรินมาก (เพราะมันตลก) ว่า "เราอยากให้ลูกกตัญญู" เวลาผ่านไป ตอนนี้ทุกคนเป็นคุณแม่กันหมดแล้ว กลับมาคุยกันอีกที ไม่มีใครสนใจให้ลูกกตัญญูแล้วค่ะ แต่เราก็ต้องการให้ลูกรักเรา คิดถึงเรา ไปมาหาสู่เราบ้าง เท่านั้นก็พอ เพราะฉะนั้นวันนี้รินจะเขียนเรื่อง การสร้างความสัมพันธ์ค่ะ :) บ่อยครั้ง ที่เราเห็นครอบครัวที่มีพร้อมทุกสิ่ง มีพ่อแม่ที่ทุ่มเททำงาน ดูแลลูกๆ ในทุกๆ เรื่อง ส่งลูกเรียนตามที่ลูกต้องการ ซื้อของให้ตามที่ลูกร้องขอ พาไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ลูกๆ ก็ยิ่งเรียกร้อง ถ้าอะไรที่พ่อแม่ไม่ให้หรือให้ไม่ได้ ลูกก็พร้อมจะชี้ไปที่พ่อแม่ ว่าพ่อแม่บกพร่องต่อหน้าที่ หน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกให้ดี ให้ลูกมีความสุขที่สุด และบ่อยครั้งอีกเช่นกัน ที่เราเห็นเด็กๆ จับกลุ่มนินทาพ่อแม่ หรือบางคนก็บ่นลงโซเชี่ยลเน็ทเวิร์ค ว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจที่ไม่ซื้อบัตรคอนเสิร์ตให้ พ่อแม่ไม่เข้าใจที่ไม่ยอมให้มีแฟน พ่อแม่ไม่เข้าใจ พ่อแม่ไม่เข้าใจ... ไม่ว่าจะยากดีมีจนแตกต่างกันอย่างไร มีเวลาให้ลูกต่า...

รักนะ แต่เอือมมาก ทำไงดี

รูปภาพ
เคยมั้ยคะ เวลาอยู่กับลูกมากๆ แล้วรู้สึกจะอ้วก ไม่ต้องรู้สึกผิดไปค่ะ รินก็เป็น 555 รินยอมรับว่าบางครั้งลูกก็มีพฤติกรรมที่น่าเหนื่อยหน่ายจริงๆ ค่ะ ยิ่งลูกรินอ่อนไหวมากด้วย เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวคร่ำครวญ เดี๋ยวดื้อ เดี๋ยวเอาแต่ใจ แล้วเวลาที่เอือมมากๆ เราก็จะรู้สึกชอบลูกไม่ลง เหนื่อย เบื่อ ยังรักนะคะ รักที่สุด แต่อยู่ด้วยไม่ไหวแล้ว แกล้งตายดีกว่า คร่อก! การที่เราเป็นพ่อแม่เนี่ย มันทำให้เรามีความคาดหวังกับตัวเองค่ะ เราคาดหวังว่าเราจะต้องอบรมเลี้ยงดูให้เค้าเติบโตมาเป็นคนดี มีความสามารถ ดูแลตัวเองได้ และสิ่งนี้เองที่ทำให้เราพยายาม "จับผิด" มากกว่า "จับถูก" เหมือนเวลาเราปลูกดอกไม้ เรามักจะเห็นหญ้ารกเร็วกว่าเห็นดอกไม้สวย เพราะเรามองว่าหญ้ารกทำให้สวนเราไม่สวย แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามองไปทีไรก็เห็นแต่หญ้ารกๆ เราก็คงไม่มีความสุขกับสวนของเรา รูปจาก https://www.facebook.com/littleheartsbooks/photos/a.666294706734470.1073741826.182279478469331/955349574495647/?type=1&theater รินเชื่อว่า เด็กๆ ทุกคนก็มีข้อดี ในทุกๆ การกระทำที่น่าเบื่อหน่ายของลูกก็มีสิ่งดีๆ แฝงไว้ ถ้าเ...

รักวัวให้ผูก รักลูกต้องไม่ตี

รูปภาพ
สำหรับริน มันเป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่อทุกครั้งที่เห็นเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดี ทุกคนมักจะชี้ไปที่พ่อแม่แล้วกล่าวหาว่าไม่อบรมสั่งสอน พร้อมกับแนะนำให้ตี ไม่ว่าจะด้วยการยกตัวอย่างว่าตัวเองถูกตีมาจึงได้ดี ยกตัวอย่างว่าตัวเองตีลูกแล้วลูกเรียบร้อยเชื่อฟัง หรือแม้กระทั่งยกตัวอย่างสุภาษิตไทย ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ” มาเพื่อกดดันให้ตี รูปจาก https://www.flickr.com/photos/brizzlebornandbred/16633372288/ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือ การตีคือการสั่งสอนจริงหรือ ต้องตีถึงจะได้ดี ถ้าไม่ตีแล้วจะกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว ไม่เคารพกฎกติกา โตไปเป็นคนที่ไม่ได้เรื่องจริงหรือ ? ก่อนจะหันมือไปตีลูกตามที่คนรอบข้างบอกให้ทำ ลองมาดูข้อมูลนี้กันก่อนค่ะ ไม่ตีจะไม่ได้เรื่อง ? ก่อนอื่นรินขอแนะนำประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก 10 อันดับแรกในปี 2015 ก่อนค่ะ 1) Switzerland 2) Iceland 3) Denmark 4) Norway 5) Canada 6) Finland 7) Netherlands 8) Sweden 9) New Zealand และอันดับที่ 10) Australia ทำไมอยู่ๆ รินถึงพูดถึงเรื่องนี้ เพราะการได้ตำแหน่งประเทศที่มีความสุขที่สุด นั่นแปลว่า...

Time's up for time-out?

รูปภาพ
รินตั้งชื่อตอนนี้ไว้ว่า หมดเวลาสำหรับการทำ Time-out แล้วหรือ เพราะไม่ต้องการตัดสินว่ามันดีหรือไม่ดี แต่ต้องการให้ข้อมูลให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจการทำ time-out มากขึ้น ก่อนจะตัดสินใจทำ time-out ในแต่ล่ะครั้ง เพื่อประโยชน์สูงสุดของครอบครัว และเพื่อไม่ให้มีผลเสียที่คาดไม่ถึงตามมาค่ะ จุดกำเนิดของ time-out มาจากความต้องการตัดลูกออกจากสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมไม่ดี เพื่อให้เด็กสามารถสงบลงได้ และจากความรู้ที่ว่าถ้าเราให้รางวัลกับพฤติกรรมไม่ดีของลูกก็ยิ่งจะทำให้พฤติกรรมไม่ดีนั้นรุนแรงขึ้น time-out จึงถูกออกแบบมาเพื่อแยกลูกออกจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น ของเล่น ทีวี พี่น้อง เพื่อให้ลูกได้สงบอารมณ์ลง และกลับไปเข้าร่วมกิจกรรมได้อีกครั้งเมื่อครบกำหนดเวลา เพื่อช่วยเหลือลูกให้คุมอารมณ์ตัวเองได้ แต่เพราะการใช้ time-out มันง่าย ไม่รุนแรง และเห็นผลทันที พ่อแม่หลายท่านเลยเลือก time-out มาทดแทนการตี นั่นทำให้จุดประสงค์ของ time-out เปลี่ยนจากการเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือลูกและเพื่อให้ลูกหัดคุมอารมณ์ตัวเองได้ มาเป็นเครื่องมือในการลงโทษลูกเมื่อมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และควบคุมพฤติกรรมของลูก ปัญหามันเริ่มเ...

คำพ่อคำแม่ คำศักดิ์สิทธิ์

รูปภาพ
เคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดกันมั้ยคะ ว่า คำพ่อคำแม่มันศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรกับลูกมันก็จะเป็นอย่างนั้นแหละ สำหรับคนที่ชอบวิทยาศาสตร์แถมเรียนจบสายวิทย์มาด้วยอย่างริน คำพูดลอยๆ พวกนี้ ดูเชื่อไม่ได้เลยค่ะ เหมือนเป็นแค่คำพูดเอาไว้หลอกเด็กๆ ให้เคารพพ่อแม่ แต่มันเป็นเรื่องจริงนะคะ คำพูดพ่อแม่นี่แหละ ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ มา ล้อมวงเข้ามาค่ะ รินจะเล่าให้ฟัง ตอนที่เด็กๆ เกิดมาเนี่ย เขาไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร อย่างไร เด็กๆ ยังไม่มีความสามารถที่จะคิดมากนัก (สมองส่วนหน้าที่ใช้คิดจะพัฒนาเต็มที่ก็ตอนอายุยี่สิบปลายๆ) แต่เขามีสมองของมนุษย์ค่ะ สมองที่ฉลาดที่สุด เด็กๆ ซึมซับทุกอย่างได้ดีเยี่ยมยิ่งกว่าฟองน้ำ เด็กๆ สามารถเรียนรู้ภาษาจากที่ไม่เคยรู้เลยว่าแต่ล่ะคำมีความหมายว่าอะไร จนกระทั่งฟังรู้เรื่องและพูดได้ในระยะเวลาประมาณสองปีเท่านั้นเอง ลองปล่อยเราทิ้งไว้ ณ ประเทศที่เราฟังเขาไม่เข้าใจสักคำสิคะ ผ่านไปสองปีก็ยังใช้ภาษามือนี่แหละค่ะ นอกจากมันสมองชั้นเลิศที่พร้อมดูดซับทุกอย่างแล้ว เด็กๆ ยังรู้ดีอีกด้วยว่า พ่อแม่คือคนที่เก่งที่สุด รักเขาที่สุด รู้จักเขาดีที่สุด เพราะฉะนั้น สิ่งที่พ่อแม่พูดถึงเขา ไม...

พ่อแม่ขี้เล่น เคล็ดลับสู่ลูกไม่ดื้อ

รูปภาพ
แปลกใจใช่มั้ยคะ ที่การเป็นพ่อแม่ขี้เล่นแค่เนี้ย จะทำให้ลูกไม่ดื้อได้ยังไง รินไม่ได้มั่วและก็ไม่ได้โม้ด้วย มันมีเหตุผลของมันค่ะ คืออย่างนี้ค่ะ เด็กๆ เนี่ย ไม่ได้เกิดมาเพื่อแก้แค้นพ่อและแม่ ไม่ได้ต้องการเกิดมาเพื่อสร้างความเดือดร้อนให้เรา เราทำให้เขาเกิดขึ้นมา และตามสัญชาตญาณการมีชีวิตรอด เขาต้องการความรัก ต้องการความสนใจ (ลองนึกภาพสมัยที่ยังมีผู้ล่าอยู่ในทุ่ง ถ้าเราไม่รัก ไม่สนใจ ทำเหมือนลูกไม่มีตัวตน มนุษย์เราคงสูญพันธุ์ไปหมดแล้วจริงมั้ยคะ) ปัญหาอยู่ที่เด็กๆ ดันไม่ได้เกิดมาพร้อมสมองที่พัฒนาแล้ว (เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น หัวเขาจะโตจนออกมาไม่ได้ค่ะ) เขาไม่สามารถคิดเองได้ ว่าทำอย่างไรพ่อแม่ถึงจะรักและสนใจเขา เขาเลยลองผิดลองถูกไปเรื่อย จนกว่าจะเจอสิ่งที่ดึงความสนใจไปจากเราได้ (คำว่าลองผิดลองถูกนี่แหละค่ะ ตัวปัญหาเลย) เพราะฉะนั้น ถ้าเราแค่ชิงแสดงออกถึงความรัก ความสนใจ ลูกก็จะไม่ลองผิดลองถูกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ถ้าเราชิงให้ความสำคัญกับเขา เขาก็จะไม่แสดงอาการต่อต้านเพียงเพื่อให้เรารับรู้ว่า เขายังอยู่ตรงนี้ ยังมีตัวตนอยู่ตรงนี้นะ แล้วจะทำได้อย่างไร อยู่กับลูกตลอดเวลา ทำทุกอย่างเพื่อลูก...

สร้างนิสัยเรียนรู้จากความผิดพลาด ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ

รูปภาพ
เรื่องมันเริ่มจากเย็นวันนึงค่ะ ลูกสาววัย 3 ขวบครึ่งของรินกำลังเอาตุ๊กตาเพื่อนสัตว์มาเล่นสไลเดอร์แข่งกันอย่างสนุกสนาน รินนั่งเล่นอยู่ใกล้ๆ ก็ได้ยินเสียงหัวเราะคิกคักดังมาตลอด แล้วอยู่ๆ ลูกก็ร้องไห้โวยวาย ให้เอากางเกงไปทิ้ง รินก็งง เกิดอะไรขึ้น มองไปที่พื้น เห็นน้ำอยู่กองหนึ่ง อ้อ ฉี่ราดนี่เอง แต่ลูกเลิกผ้าอ้อมไปเกือบปีแล้วนะ นี่ลูกเลิกผ้าอ้อมตอนกลางคืนมาเป็นเดือนแล้วด้วยนะ ฉี่ราดได้ยังไง เล่นเพลินแน่ๆ เลย - รินคิด แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจะปากไวบอกลูกไปว่า "เห็นมั้ย แม่บอกแล้วว่าเวลาปวดฉี่ต้องรีบไปฉี่ มัวแต่เล่น เลยฉี่ราดเองเลย ทำเลอะก็เช็ดเองก็แล้วกัน" รินมองเห็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้อะไรอย่างนึง ซึ่งสำคัญมากกว่าการรับผิดชอบเช็ดเอง นั่นคือ ลูกยังเด็ก ลูกทำผิดพลาด และมันจะเป็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ รินจัดแจงจัดการเรื่องเฉพาะหน้าก่อน พาไปล้างก้น เปลี่ยนกางเกง และพาลูกมาช่วยกันเช็ดพื้นที่เลอะ หลังจากปลอบใจไปได้สักพัก ลูกยังคงรู้สึกผิดหวังในตัวเองอย่างมาก รินเลยเริ่มพูดถึงความผิดพลาดของรินออกมา “อัณณา หนูจำได้มั้ย ที่แม่ทำแป้งโดว์คราวที่แล้ว ที่มันออกมาเป็นสไลม์เลย ตลกดีเนอะ...

ความมหัศจรรย์ของเซลล์ประสาทกระจก (Mirror Neuron)

เคยมีปัญหากับเจ้านักก๊อปปี้ตัวน้อยที่บ้านกันมั้ยคะ รินมีอยู่บ่อยๆ เลยค่ะ ทั้งท่าทางทั้งคำพูด นี่ล่าสุดลูกสาวตัวน้อยเริ่มเอาเท้าเปิดพัดลม แหะๆ สงสัยรินเองจะเผลอทำให้ลูกเห็นน่ะค่ะ ที่เป็นแบบนั้นเพราะเจ้าเซลล์ประสาทที่ชื่อมิเรอร์นิวรอนนั่นเองค่ะ มิเรอร์นิวรอนถูกค้นพบโดยบังเอิญระหว่างที่เจ้าหน้าที่วิจัยกำลังนั่งกินขนม แล้วเจ้าลิงที่อยู่ในศูนย์วิจัยมองมา ปรากฏว่าเซลล์ประสาทในสมองลิง ทำงานเหมือนกับว่ามันได้กินเองยังไงยังงั้นเลย เจ้าเซลล์กลุ่มนี้ ส่วนนึงมีหน้าที่สะท้อนลักษณะท่าทาง (แบบที่คู่รักที่ใช้เวลาอยู่ด้วยกันนานๆ จะเดินเหมือนกัน หรือเวลาเราเห็นคนอื่นหาวเราก็จะหาวตาม) อีกส่วนนึงทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึก (อย่างเช่น เวลาเราเห็นคนอื่นโดนเข็มตำนิ้ว เราก็รู้สึกเจ็บไปด้วย หรือเวลาเราเห็นลูกเสียใจ เราก็เสียใจไปกับเขาด้วย) ว่ากันว่าเจ้ามิเรอร์นิวรอนนี้ ทำให้สมองกลายเป็นอวัยวะที่เป็นอวัยวะสังคมค่ะ เนื่องจากในส่วนที่สะท้อนความรู้สึกของมันทำให้เรารู้สึกถึงความรู้สึกของคนอื่น ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นที่มาของความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทักษะทางสังคมนั่นเองค่ะ เมื่อมาประยุกต์ความรู...

มนุษย์แม่ ไม่ใช่ยอดมนุษย์

จำวันที่เรายังไม่ได้เป็นแม่ได้มั้ยคะ ก่อนที่เราจะเป็นแม่ เราเป็นแค่ผู้หญิงธรรมดาๆ คนนึง แข็งแรงพอประมาณ ไม่ถึกนัก แต่พอเราเป็นแม่ ไม่ว่าจะด้วยความรักลูกสุดหัวใจ หรือด้วยความรู้สึกต้องรับผิดชอบชีวิตเด็กคนนึงก็แล้วแต่ มันทำให้เราฝีนตัวเอง จากผู้หญิงธรรมดา มายืนอยู่ในจุดที่ใกล้เคียงคำว่ายอดมนุษย์ เราอดนอนได้เป็นปีๆ เข้าห้องน้ำด้วยความเร็วแสง อุ้มลูกหนักสิบกว่ากิโลได้ด้วยแขนข้างเดียว มืออีกข้างของเราจับขาลูกเราที่พยาบาล 3 คนเอาไม่อยู่ ให้หมอฉีดวัคซีนให้ได้ นี่ไม่นับสารพัดความรู้สารพัดเทคนิคที่เราเอามาประยุกต์ใช้กับลูกนะคะ มันก็น่าแปลก ที่พอวันที่เราเป็นแม่แล้ว ความสุขของทุกคนในบ้านมาก่อนเราเสมอ เราดูแลปรนนิบัติทุกคนไม่ขาดตกบกพร่อง ตัวเราน่ะ เก็บไว้อันดับสุดท้าย เราจะเป็นอย่างไรก็ได้ แต่ลูกๆ และสามี (รวมไปถึงพ่อแม่เรา พ่อแม่สามีด้วย ในกรณีครอบครัวใหญ่) เราจะดูแลให้ดีที่สุด ... แต่คนเรา ไม่ใช่เครื่องจักร ... ไม่ว่าใจเราจะแกร่งขนาดไหน ร่างกายเราก็ยังเป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นร่างกายของผู้หญิงคนเดิม คนที่แสนจะบอบบาง ณ เมื่อวันที่ยังไม่มีลูก เมื่อเราเหนื่อยมากๆ เข้า ไม่ได้พัก ไม่ได้ดูแลตัว...

ลูกไม่ยอมเล่าเรื่องที่โรงเรียนให้ฟังเลย ทำไงดี??

เพราะเราตามลูกไปเรียนด้วยไม่ได้ (และถึงได้ก็ไม่ควรทำนะคะ) ดังนั้นมันจะช่วยได้มากเลย ถ้าลูกยอมเล่าทุกเรื่องที่โรงเรียนให้ฟัง เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นไป เข้าใจปัญหาที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ และช่วยลูกได้ทันเวลา แต่พอถามทีไรก็บอกแต่ว่า "ก็ดี" "ไม่มีอะไร" "จำไม่ได้" นี่สิคะ ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีหลอกล่อให้ลูกพูดเรื่องโรงเรียนให้เราฟังกันค่ะ ก่อนอื่นเลย ลูกต้องการบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และการรับฟังที่ดีจากเรา ไม่ด่วนตัดสิน ไม่จ้องจะสั่งสอน ลองนึกภาพดูนะคะ ถ้าเราโดนหัวหน้าเรียกเข้าห้องเย็นทุกวันเพื่อไปรายงานความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย ยังรายงานไม่ทันจบ หัวหน้าก็ถามกลับว่า แล้วทำไมคุณไม่ทำอย่างนี้ แบบนี้เราคงเครียดจนไม่อยากเล่าใช่มั้ยคะ (บางคนถึงกับตบแต่งข้อมูลให้สวยก่อนเข้าไปพรีเซนท์เลยด้วยซ้ำ) เด็ก ๆ ก็เหมือนกันค่ะ ถ้าเราจ้องจับผิด จ้องสั่งสอน เด็กก็จะไม่อยากเล่า เด็กบางคนอาจรู้สึดกดดันจนยอมเลือกวิธีโกหกเพื่อเอาตัวรอด ลองเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี แค่นี้ก็สำเร็จไปครึ่งทางแล้วค่ะ ส่วนครึ่งทางที่เหลือ ปัญหาแตกต่างกันไปค่ะ สำหรับลูกวัยอนุบาล ...