ลูกไม่ยอมเล่าเรื่องที่โรงเรียนให้ฟังเลย ทำไงดี??
เพราะเราตามลูกไปเรียนด้วยไม่ได้ (และถึงได้ก็ไม่ควรทำนะคะ) ดังนั้นมันจะช่วยได้มากเลย ถ้าลูกยอมเล่าทุกเรื่องที่โรงเรียนให้ฟัง เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นไป เข้าใจปัญหาที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ และช่วยลูกได้ทันเวลา แต่พอถามทีไรก็บอกแต่ว่า "ก็ดี" "ไม่มีอะไร" "จำไม่ได้" นี่สิคะ
ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีหลอกล่อให้ลูกพูดเรื่องโรงเรียนให้เราฟังกันค่ะ
ก่อนอื่นเลย ลูกต้องการบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และการรับฟังที่ดีจากเรา ไม่ด่วนตัดสิน ไม่จ้องจะสั่งสอน ลองนึกภาพดูนะคะ ถ้าเราโดนหัวหน้าเรียกเข้าห้องเย็นทุกวันเพื่อไปรายงานความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย ยังรายงานไม่ทันจบ หัวหน้าก็ถามกลับว่า แล้วทำไมคุณไม่ทำอย่างนี้ แบบนี้เราคงเครียดจนไม่อยากเล่าใช่มั้ยคะ (บางคนถึงกับตบแต่งข้อมูลให้สวยก่อนเข้าไปพรีเซนท์เลยด้วยซ้ำ) เด็ก ๆ ก็เหมือนกันค่ะ ถ้าเราจ้องจับผิด จ้องสั่งสอน เด็กก็จะไม่อยากเล่า เด็กบางคนอาจรู้สึดกดดันจนยอมเลือกวิธีโกหกเพื่อเอาตัวรอด ลองเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี แค่นี้ก็สำเร็จไปครึ่งทางแล้วค่ะ
ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีหลอกล่อให้ลูกพูดเรื่องโรงเรียนให้เราฟังกันค่ะ
ก่อนอื่นเลย ลูกต้องการบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และการรับฟังที่ดีจากเรา ไม่ด่วนตัดสิน ไม่จ้องจะสั่งสอน ลองนึกภาพดูนะคะ ถ้าเราโดนหัวหน้าเรียกเข้าห้องเย็นทุกวันเพื่อไปรายงานความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย ยังรายงานไม่ทันจบ หัวหน้าก็ถามกลับว่า แล้วทำไมคุณไม่ทำอย่างนี้ แบบนี้เราคงเครียดจนไม่อยากเล่าใช่มั้ยคะ (บางคนถึงกับตบแต่งข้อมูลให้สวยก่อนเข้าไปพรีเซนท์เลยด้วยซ้ำ) เด็ก ๆ ก็เหมือนกันค่ะ ถ้าเราจ้องจับผิด จ้องสั่งสอน เด็กก็จะไม่อยากเล่า เด็กบางคนอาจรู้สึดกดดันจนยอมเลือกวิธีโกหกเพื่อเอาตัวรอด ลองเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี แค่นี้ก็สำเร็จไปครึ่งทางแล้วค่ะ
ส่วนครึ่งทางที่เหลือ ปัญหาแตกต่างกันไปค่ะ สำหรับลูกวัยอนุบาล สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกเราไม่เล่าคือ ลูกยังเรียบเรียงเหตุการณ์มาเป็นเรื่องเล่าไม่เก่ง และยังจำเหตุการณ์ได้ไม่ดีนัก ลูกต้องการความช่วยเหลือจากเราในการหัดเล่าค่ะ
จากเรื่องของความจำในตอนที่แล้ว ความทรงจำมันผูกกันไว้ พอนึกถึงเหตุการณ์นึง ก็จะนึกถึงความรู้สึก และเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันออก เราจะดึงความจำของลูกออกมา เป็นคำพูด ด้วยการพูดคุยถึงข้อมูลที่เราไปสืบมาจากโรงเรียนก่อนค่ะ
เริ่มจากไปทำความรู้จักกับตัวแปรต่างๆ รอบตัวลูกที่โรงเรียน ครูของลูกชื่ออะไร เพื่อน ๆ ลูกชื่ออะไร ตารางกิจกรรมของลูกวันนี้เป็นอย่างไร อาหารกลางวันของลูกวันนี้คืออะไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักหาได้จากทางโรงเรียนอยู่แล้วค่ะ
เราจะนำข้อมูลพวกนี้มาใช้เพื่อนำร่องในการคุยกับลูก เพื่อให้ลูกเริ่มนึกออก และกระตุ้นให้ลูกเล่าออกมาค่ะ เช่น
"อัณณา วันนี้หนูเรียนพละกับครูเด่นใช่มั้ยลูก" "ตอนเด็กๆ แม่ชอบเล่นพละมากเลย แล้วหนูได้วิ่งเล่นด้วยรึเปล่านะ" "แล้วครูให้ทำอะไรอีกคะ" "โอ้โห น่าสนุกจัง หนูชอบมั้ย" "แล้วทำอะไรต่อคะ" "วันนี้แม่เห็นครูทำไข่เจียวให้กินด้วย อร่อยมั้ยลูก" "แล้วหนูกินหมดจานเลยรึเปล่า" "แล้ววันนี้หนูได้ทำอะไรสนุกๆ มั้ยคะ ชอบทำอะไรที่สุด" "แล้วมีอะไรที่หนูไม่ชอบมั้ย" คุยกับลูกทุกวันด้วยท่าทีเป็นมิตร สนใจในความรู้สึกที่ลูกมีต่อแต่ละเหตุการณ์ ลูกก็จะเล่าเรื่องเก่งขึ้น และอยากเล่ามากขึ้นค่ะ
สำหรับเด็กประถม วัยนี้เรื่องความจำและการเรียบเรียงเป็นคำพูดไม่ใช่ปัญหาแล้วค่ะ ลูกอาจรู้สึกว่า ก็ไม่เห็นมีอะไรให้เล่าสักหน่อย เราอาจช่วยสร้างบรรยากาศในการเล่า ด้วยการสร้างเกมผลัดกันเล่าขึ้นมา โดยทุกคน (รวมคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ) ต้องผลัดกันเล่าเรื่องของตัวเองคนล่ะข้อในทุกๆ วัน เช่น เราตั้งโจทย์ว่า
1. บอกสิ่งที่ดีที่สุดในวันนี้มาหนึ่งอย่าง
2. บอกสิ่งที่แย่ที่สุดในวันนี้มาหนึ่งอย่าง
3. บอกสิ่งดีๆ ที่เราทำให้คนอื่นในวันนี้มาหนึ่งอย่าง
การคุยกันแบบนี้ นอกจากจะทำให้ทุกคนในบ้านเข้าใจกันมากขึ้นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คิดทบทวนเรื่องราวต่างๆ ในแต่ล่ะวัน และเป็นการกระตุ้นให้ทำสิ่งดีๆ เพื่อคนอื่นในทุกๆ วันด้วยค่ะ
ถ้าเราเคยมีพฤติกรรมที่ทำให้ลูกรู้สึกว่า เราไม่สนใจฟัง (เช่น เล่นโทรศัพท์ไปฟังไป ดูทีวีไปฟังไป) หรือชอบสั่งสอน ขอให้ปรับเปลี่ยนตัวเองก่อนนะคะ ลูกต้องรู้สึกว่า เราจะฟังเขา อยู่เคียงข้างเขา เป็นพวกเดียวกับเขา เขาถึงจะอยากเล่าทุกเรื่องให้เราฟังค่ะ
จากเรื่องของความจำในตอนที่แล้ว ความทรงจำมันผูกกันไว้ พอนึกถึงเหตุการณ์นึง ก็จะนึกถึงความรู้สึก และเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันออก เราจะดึงความจำของลูกออกมา เป็นคำพูด ด้วยการพูดคุยถึงข้อมูลที่เราไปสืบมาจากโรงเรียนก่อนค่ะ
เริ่มจากไปทำความรู้จักกับตัวแปรต่างๆ รอบตัวลูกที่โรงเรียน ครูของลูกชื่ออะไร เพื่อน ๆ ลูกชื่ออะไร ตารางกิจกรรมของลูกวันนี้เป็นอย่างไร อาหารกลางวันของลูกวันนี้คืออะไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักหาได้จากทางโรงเรียนอยู่แล้วค่ะ
เราจะนำข้อมูลพวกนี้มาใช้เพื่อนำร่องในการคุยกับลูก เพื่อให้ลูกเริ่มนึกออก และกระตุ้นให้ลูกเล่าออกมาค่ะ เช่น
"อัณณา วันนี้หนูเรียนพละกับครูเด่นใช่มั้ยลูก" "ตอนเด็กๆ แม่ชอบเล่นพละมากเลย แล้วหนูได้วิ่งเล่นด้วยรึเปล่านะ" "แล้วครูให้ทำอะไรอีกคะ" "โอ้โห น่าสนุกจัง หนูชอบมั้ย" "แล้วทำอะไรต่อคะ" "วันนี้แม่เห็นครูทำไข่เจียวให้กินด้วย อร่อยมั้ยลูก" "แล้วหนูกินหมดจานเลยรึเปล่า" "แล้ววันนี้หนูได้ทำอะไรสนุกๆ มั้ยคะ ชอบทำอะไรที่สุด" "แล้วมีอะไรที่หนูไม่ชอบมั้ย" คุยกับลูกทุกวันด้วยท่าทีเป็นมิตร สนใจในความรู้สึกที่ลูกมีต่อแต่ละเหตุการณ์ ลูกก็จะเล่าเรื่องเก่งขึ้น และอยากเล่ามากขึ้นค่ะ
สำหรับเด็กประถม วัยนี้เรื่องความจำและการเรียบเรียงเป็นคำพูดไม่ใช่ปัญหาแล้วค่ะ ลูกอาจรู้สึกว่า ก็ไม่เห็นมีอะไรให้เล่าสักหน่อย เราอาจช่วยสร้างบรรยากาศในการเล่า ด้วยการสร้างเกมผลัดกันเล่าขึ้นมา โดยทุกคน (รวมคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ) ต้องผลัดกันเล่าเรื่องของตัวเองคนล่ะข้อในทุกๆ วัน เช่น เราตั้งโจทย์ว่า
1. บอกสิ่งที่ดีที่สุดในวันนี้มาหนึ่งอย่าง
2. บอกสิ่งที่แย่ที่สุดในวันนี้มาหนึ่งอย่าง
3. บอกสิ่งดีๆ ที่เราทำให้คนอื่นในวันนี้มาหนึ่งอย่าง
การคุยกันแบบนี้ นอกจากจะทำให้ทุกคนในบ้านเข้าใจกันมากขึ้นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คิดทบทวนเรื่องราวต่างๆ ในแต่ล่ะวัน และเป็นการกระตุ้นให้ทำสิ่งดีๆ เพื่อคนอื่นในทุกๆ วันด้วยค่ะ
ถ้าเราเคยมีพฤติกรรมที่ทำให้ลูกรู้สึกว่า เราไม่สนใจฟัง (เช่น เล่นโทรศัพท์ไปฟังไป ดูทีวีไปฟังไป) หรือชอบสั่งสอน ขอให้ปรับเปลี่ยนตัวเองก่อนนะคะ ลูกต้องรู้สึกว่า เราจะฟังเขา อยู่เคียงข้างเขา เป็นพวกเดียวกับเขา เขาถึงจะอยากเล่าทุกเรื่องให้เราฟังค่ะ
ลูกไม่เล่าเลยค่ะ แต่พอนำบทความนี้ไปใช้แค่๒วัน แค่มองหน้าลูกก็เล่าให้ฟังแล้วค่ะ
ตอบลบ