สร้างนิสัยเรียนรู้จากความผิดพลาด ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ
เรื่องมันเริ่มจากเย็นวันนึงค่ะ ลูกสาววัย 3 ขวบครึ่งของรินกำลังเอาตุ๊กตาเพื่อนสัตว์มาเล่นสไลเดอร์แข่งกันอย่างสนุกสนาน รินนั่งเล่นอยู่ใกล้ๆ ก็ได้ยินเสียงหัวเราะคิกคักดังมาตลอด แล้วอยู่ๆ ลูกก็ร้องไห้โวยวาย ให้เอากางเกงไปทิ้ง
รินก็งง เกิดอะไรขึ้น มองไปที่พื้น เห็นน้ำอยู่กองหนึ่ง อ้อ ฉี่ราดนี่เอง แต่ลูกเลิกผ้าอ้อมไปเกือบปีแล้วนะ นี่ลูกเลิกผ้าอ้อมตอนกลางคืนมาเป็นเดือนแล้วด้วยนะ ฉี่ราดได้ยังไง เล่นเพลินแน่ๆ เลย - รินคิด
แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจะปากไวบอกลูกไปว่า "เห็นมั้ย แม่บอกแล้วว่าเวลาปวดฉี่ต้องรีบไปฉี่ มัวแต่เล่น เลยฉี่ราดเองเลย ทำเลอะก็เช็ดเองก็แล้วกัน" รินมองเห็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้อะไรอย่างนึง ซึ่งสำคัญมากกว่าการรับผิดชอบเช็ดเอง นั่นคือ ลูกยังเด็ก ลูกทำผิดพลาด และมันจะเป็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้
รินก็งง เกิดอะไรขึ้น มองไปที่พื้น เห็นน้ำอยู่กองหนึ่ง อ้อ ฉี่ราดนี่เอง แต่ลูกเลิกผ้าอ้อมไปเกือบปีแล้วนะ นี่ลูกเลิกผ้าอ้อมตอนกลางคืนมาเป็นเดือนแล้วด้วยนะ ฉี่ราดได้ยังไง เล่นเพลินแน่ๆ เลย - รินคิด
แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจะปากไวบอกลูกไปว่า "เห็นมั้ย แม่บอกแล้วว่าเวลาปวดฉี่ต้องรีบไปฉี่ มัวแต่เล่น เลยฉี่ราดเองเลย ทำเลอะก็เช็ดเองก็แล้วกัน" รินมองเห็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้อะไรอย่างนึง ซึ่งสำคัญมากกว่าการรับผิดชอบเช็ดเอง นั่นคือ ลูกยังเด็ก ลูกทำผิดพลาด และมันจะเป็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้
รินจัดแจงจัดการเรื่องเฉพาะหน้าก่อน พาไปล้างก้น เปลี่ยนกางเกง และพาลูกมาช่วยกันเช็ดพื้นที่เลอะ หลังจากปลอบใจไปได้สักพัก ลูกยังคงรู้สึกผิดหวังในตัวเองอย่างมาก รินเลยเริ่มพูดถึงความผิดพลาดของรินออกมา
“อัณณา หนูจำได้มั้ย ที่แม่ทำแป้งโดว์คราวที่แล้ว ที่มันออกมาเป็นสไลม์เลย ตลกดีเนอะ”
“ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา แบบที่แม่ทำแป้งโดว์แต่ผิดพลาดเลยออกมาเป็นสไลม์ไง สิ่งสำคัญคือ เราได้รู้ว่าเพราะอะไรมันถึงผิดพลาด พอเรารู้แล้ว เราก็จะไม่ทำมันอีก อย่างคราวที่แล้ว แม่ใส่น้ำมันเยอะไป แม่ทำใหม่ก็ใส่ให้น้อย ๆ หลัง ๆ แม่ทำแป้งโดว์ก็ออกมาเป็นแป้งโดว์แล้วใช่มั้ย”
“เมื่อกี๊หนูฉี่ราดใช่มั้ยลูก หนูคิดว่าทำไมถึงฉี่ราด แล้วทำยังไงถึงจะไม่ฉี่ราดอีกล่ะ”
เด็กน้อยหยุดร้องไห้ ทำหน้าคิดสักครู่ ก็ตอบมาว่า
“หนูเล่นเพลิน ไม่ยอมไปเข้าห้องน้ำ คราวหลังจะไม่เล่นเพลิน จะไปเข้าห้องน้ำ จะไม่ฉี่ราดแล้ว”
ในเมื่อผู้ใหญ่อย่างเรายังทำผิดพลาดกันอยู่บ่อยๆ ทำไมเด็กๆ จะทำผิดพลาดบ้างไม่ได้ สิ่งสำคัญคือ ให้ลูกเราได้เติบโตขึ้นเมื่อเขาทำผิดพลาด จริงมั้ยคะ
(อ่านต่อ)
“อัณณา หนูจำได้มั้ย ที่แม่ทำแป้งโดว์คราวที่แล้ว ที่มันออกมาเป็นสไลม์เลย ตลกดีเนอะ”
“ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา แบบที่แม่ทำแป้งโดว์แต่ผิดพลาดเลยออกมาเป็นสไลม์ไง สิ่งสำคัญคือ เราได้รู้ว่าเพราะอะไรมันถึงผิดพลาด พอเรารู้แล้ว เราก็จะไม่ทำมันอีก อย่างคราวที่แล้ว แม่ใส่น้ำมันเยอะไป แม่ทำใหม่ก็ใส่ให้น้อย ๆ หลัง ๆ แม่ทำแป้งโดว์ก็ออกมาเป็นแป้งโดว์แล้วใช่มั้ย”
“เมื่อกี๊หนูฉี่ราดใช่มั้ยลูก หนูคิดว่าทำไมถึงฉี่ราด แล้วทำยังไงถึงจะไม่ฉี่ราดอีกล่ะ”
เด็กน้อยหยุดร้องไห้ ทำหน้าคิดสักครู่ ก็ตอบมาว่า
“หนูเล่นเพลิน ไม่ยอมไปเข้าห้องน้ำ คราวหลังจะไม่เล่นเพลิน จะไปเข้าห้องน้ำ จะไม่ฉี่ราดแล้ว”
ในเมื่อผู้ใหญ่อย่างเรายังทำผิดพลาดกันอยู่บ่อยๆ ทำไมเด็กๆ จะทำผิดพลาดบ้างไม่ได้ สิ่งสำคัญคือ ให้ลูกเราได้เติบโตขึ้นเมื่อเขาทำผิดพลาด จริงมั้ยคะ
(อ่านต่อ)
พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ใครๆ ก็รู้ว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นเรื่องสำคัญ แต่ทำไมบางคนถึงยอมรับความผิดพลาดไม่ได้ และเราจะทำอย่างไรให้ลูกเราเป็นคนที่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง และนำไปสู่การเรียนรู้ รินจะพาไปหาคำตอบค่ะ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักลักษณะทัศนคติที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 แบบกันก่อนนะคะ
แบบแรก ความฉลาดเป็นเรื่องคงที่ (Fixed Mindset) คนกลุ่มนี้จะเชื่อว่า ความฉลาดของคนเรามีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเกิดมาฉลาดหรือเกิดมาโง่ คนที่เชื่อแบบนี้ จะมองว่าคนที่ทำได้เพราะเขาเกิดมาฉลาด คนที่ทำไม่ได้เพราะเขาเกิดมาโง่ และถ้าตัวเองทำไม่ได้ แปลว่าตัวเองโง่ ง่ายๆ แค่นั้นค่ะ
แบบที่สอง ความฉลาดเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ (Growth Mindset) คนกลุ่มนี้จะเชื่อว่า ถ้าเราอ่านหนังสือ หรือถ้าเราพยายาม หมั่นฝึกฝน เราจะเก่งขึ้น แบบคำพังเพยที่ว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
แล้วความเชื่อแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
มีงานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นนึงค่ะ (Carol Dweck: Growth Mindset) เด็กๆ 400 คนถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม เด็กกลุ่มแรกได้รับคำชมว่า “เธอเก่งเรื่องนี้แน่ๆ” ส่วนกลุ่มที่สองได้รับคำชมว่า “เธอต้องได้ทำการศึกษามันมาอย่างมากแน่ๆ” หลังจากนั้น เด็กๆ ได้รับการเสนอให้เลือกทำข้อสอบใหม่ โดยเลือกข้อสอบที่ง่ายขึ้นหรือยากขึ้นก็ได้ เด็กกลุ่มแรกเลือกข้อสอบที่ง่ายขึ้น และเมื่อทำผิดก็รู้สึกแย่กับตัวเอง ขณะที่ 90% ของเด็กกลุ่มที่สองเลือกข้อสอบที่ยากขึ้น และเมื่อทำผิดก็อยากที่จะเข้าใจว่าที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
นั่นแปลว่า เมื่อเราชื่นชมลูกที่ความฉลาด เรากำลังสร้างลูกให้มีความเชื่อว่า ความฉลาดเป็นเรื่องคงที่ ลูกเราจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะผิดพลาด จะไม่ยอมทำอะไรใหม่ๆ หรือยากๆ เพราะการทำผิดพลาดสำหรับเขาแล้ว มันแปลว่าเขาโง่ ซึ่งทำให้เขาพลาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากความผิดพลาด
ในขณะเดียวกัน เมื่อเราชื่นชมลูกที่กระบวนการ ที่ความพยายาม เราก็กำลังสร้างลูกให้มีความเชื่อว่า ความฉลาดเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ และความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ลูกเราก็จะไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ถึงล้มก็จะลุกขึ้นและเรียนรู้จากมัน
ตัวอย่างคำพูดชื่นชมความพยายาม
“แม่ภูมิใจมากเลยที่หนูตั้งใจทำการบ้าน อ่านหนังสือเองทุกวัน”
“แม่เห็นว่าหนูตั้งใจวาดรูปมากๆ เลย ถึงหนูจะไม่ถนัดวิชาศิลปะ”
“แม่ดีใจมากที่เห็นหนูทุ่มเทกับมัน มาช่วยกันดูสิว่าหนูยังไม่เข้าใจตรงไหน”
“แม่ดีใจที่หนูถาม แม่ชอบที่หนูอยากรู้”
คำพูดของเรา จะกลายเป็นความเชื่อที่ลูกมีต่อตนเอง มาเลือกใช้คำชมให้เหมาะสม เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกกันนะคะ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักลักษณะทัศนคติที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 แบบกันก่อนนะคะ
แบบแรก ความฉลาดเป็นเรื่องคงที่ (Fixed Mindset) คนกลุ่มนี้จะเชื่อว่า ความฉลาดของคนเรามีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเกิดมาฉลาดหรือเกิดมาโง่ คนที่เชื่อแบบนี้ จะมองว่าคนที่ทำได้เพราะเขาเกิดมาฉลาด คนที่ทำไม่ได้เพราะเขาเกิดมาโง่ และถ้าตัวเองทำไม่ได้ แปลว่าตัวเองโง่ ง่ายๆ แค่นั้นค่ะ
แบบที่สอง ความฉลาดเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ (Growth Mindset) คนกลุ่มนี้จะเชื่อว่า ถ้าเราอ่านหนังสือ หรือถ้าเราพยายาม หมั่นฝึกฝน เราจะเก่งขึ้น แบบคำพังเพยที่ว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
แล้วความเชื่อแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
มีงานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นนึงค่ะ (Carol Dweck: Growth Mindset) เด็กๆ 400 คนถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม เด็กกลุ่มแรกได้รับคำชมว่า “เธอเก่งเรื่องนี้แน่ๆ” ส่วนกลุ่มที่สองได้รับคำชมว่า “เธอต้องได้ทำการศึกษามันมาอย่างมากแน่ๆ” หลังจากนั้น เด็กๆ ได้รับการเสนอให้เลือกทำข้อสอบใหม่ โดยเลือกข้อสอบที่ง่ายขึ้นหรือยากขึ้นก็ได้ เด็กกลุ่มแรกเลือกข้อสอบที่ง่ายขึ้น และเมื่อทำผิดก็รู้สึกแย่กับตัวเอง ขณะที่ 90% ของเด็กกลุ่มที่สองเลือกข้อสอบที่ยากขึ้น และเมื่อทำผิดก็อยากที่จะเข้าใจว่าที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
นั่นแปลว่า เมื่อเราชื่นชมลูกที่ความฉลาด เรากำลังสร้างลูกให้มีความเชื่อว่า ความฉลาดเป็นเรื่องคงที่ ลูกเราจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะผิดพลาด จะไม่ยอมทำอะไรใหม่ๆ หรือยากๆ เพราะการทำผิดพลาดสำหรับเขาแล้ว มันแปลว่าเขาโง่ ซึ่งทำให้เขาพลาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากความผิดพลาด
ในขณะเดียวกัน เมื่อเราชื่นชมลูกที่กระบวนการ ที่ความพยายาม เราก็กำลังสร้างลูกให้มีความเชื่อว่า ความฉลาดเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ และความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ลูกเราก็จะไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ถึงล้มก็จะลุกขึ้นและเรียนรู้จากมัน
ตัวอย่างคำพูดชื่นชมความพยายาม
“แม่ภูมิใจมากเลยที่หนูตั้งใจทำการบ้าน อ่านหนังสือเองทุกวัน”
“แม่เห็นว่าหนูตั้งใจวาดรูปมากๆ เลย ถึงหนูจะไม่ถนัดวิชาศิลปะ”
“แม่ดีใจมากที่เห็นหนูทุ่มเทกับมัน มาช่วยกันดูสิว่าหนูยังไม่เข้าใจตรงไหน”
“แม่ดีใจที่หนูถาม แม่ชอบที่หนูอยากรู้”
คำพูดของเรา จะกลายเป็นความเชื่อที่ลูกมีต่อตนเอง มาเลือกใช้คำชมให้เหมาะสม เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกกันนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น