พ่อแม่ขี้เล่น เคล็ดลับสู่ลูกไม่ดื้อ
แปลกใจใช่มั้ยคะ ที่การเป็นพ่อแม่ขี้เล่นแค่เนี้ย จะทำให้ลูกไม่ดื้อได้ยังไง รินไม่ได้มั่วและก็ไม่ได้โม้ด้วย มันมีเหตุผลของมันค่ะ
คืออย่างนี้ค่ะ เด็กๆ เนี่ย ไม่ได้เกิดมาเพื่อแก้แค้นพ่อและแม่ ไม่ได้ต้องการเกิดมาเพื่อสร้างความเดือดร้อนให้เรา เราทำให้เขาเกิดขึ้นมา และตามสัญชาตญาณการมีชีวิตรอด เขาต้องการความรัก ต้องการความสนใจ (ลองนึกภาพสมัยที่ยังมีผู้ล่าอยู่ในทุ่ง ถ้าเราไม่รัก ไม่สนใจ ทำเหมือนลูกไม่มีตัวตน มนุษย์เราคงสูญพันธุ์ไปหมดแล้วจริงมั้ยคะ)
ปัญหาอยู่ที่เด็กๆ ดันไม่ได้เกิดมาพร้อมสมองที่พัฒนาแล้ว (เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น หัวเขาจะโตจนออกมาไม่ได้ค่ะ) เขาไม่สามารถคิดเองได้ ว่าทำอย่างไรพ่อแม่ถึงจะรักและสนใจเขา เขาเลยลองผิดลองถูกไปเรื่อย จนกว่าจะเจอสิ่งที่ดึงความสนใจไปจากเราได้ (คำว่าลองผิดลองถูกนี่แหละค่ะ ตัวปัญหาเลย)
เพราะฉะนั้น ถ้าเราแค่ชิงแสดงออกถึงความรัก ความสนใจ ลูกก็จะไม่ลองผิดลองถูกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ถ้าเราชิงให้ความสำคัญกับเขา เขาก็จะไม่แสดงอาการต่อต้านเพียงเพื่อให้เรารับรู้ว่า เขายังอยู่ตรงนี้ ยังมีตัวตนอยู่ตรงนี้นะ
แล้วจะทำได้อย่างไร อยู่กับลูกตลอดเวลา ทำทุกอย่างเพื่อลูก ให้ทุกอย่างลูกเลยดีมั้ย
ต้องบอกว่า ทำไม่ได้ และไม่ควรทำค่ะ เด็กๆ ต้องการขอบเขตที่ชัดเจน พอๆ กับอิสระ เพราะถ้าเราไม่มีขอบเขตเลย เด็กจะรู้สึกไม่มั่นคงค่ะ เขาไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเราจะปล่อยเขาเดินตกผาไปเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้น ยังไงก็ต้องมีขอบเขต
การเป็นพ่อแม่ขี้เล่นเลยเข้ามามีบทบาทตรงนี้ค่ะ เพราะเวลาที่เราเล่น (เล่นจริงๆ นะคะ ไม่ใช่สอนไปเล่นไปนะคะ) เด็กๆ จะรู้สึกได้ถึงความรัก เมื่อเราเล่นอย่างอิสระโดยยอมให้ลูกนำเราเล่น (เช่น บทบาทสมมติ ลูกอยากเล่นเป็นครูแล้วให้เราเล่นเป็นนักเรียน เราคอยโต้ตอบไปตามบทบาทที่ลูกนำ) ลูกจะรู้สึกว่าเขาสำคัญ มีตัวตน เรามองเห็นเขา และตอบสนองเขา
เวลาเล่น ยังเป็นเวลาที่ลูกมีความสุข เล่นด้วยกันก็สุขร่วมกัน ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ยังจะส่งผลให้ลูกให้ความร่วมมือดีขึ้นด้วยค่ะ
ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่มั้ยคะ แต่ปัญหาในการนำมาใช้ของเราก็คือ เราไม่มีเวลาเล่นกับลูกนี่สิ งานประจำก็ปาเข้าไปจะหมดวันละ งานบ้านก็ต้องทำ ลูกก็จะเล่นด้วยอีก อะไรกันนักกันหนา (รินก็เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันค่ะ)
ปัญหานี้มีทางออกค่ะ เราก็แค่ทำกิจวัตรประจำวันระหว่างเรากับเขา หรือปรับช่วงเวลาทำงานบ้านของเรา ให้เล่นกับเขาไปด้วย เริ่มจากลดความคาดหวัง เติมจินตนาการ และอารมณ์ขันลงไป ลองมาดูตัวอย่างเหล่านี้นะคะ
ล้างจาน - ชวนลูกมาล้างด้วยกัน ล้างไปเล่นฟองไปด้วยกันตามจินตนาการ
อาบน้ำให้ลูก - เอาตุ๊กตาลอยน้ำไปเล่นด้วยกัน ลองสมมติว่าลูกเปิดร้านอาบน้ำสัตว์ เราเป็นลูกมือ หรือลูกลงเล่นทะเลกับสัตว์ต่างๆ เราก็หยิบสัตว์ต่างๆ มาสวมบทพูดโต้ตอบกับลูก
เด็กๆ ต้องการเวลาแบบนี้แค่วันล่ะสองครั้ง ครั้งล่ะ 10 นาทีเท่านั้นเอง ไม่ได้ใช้เวลามากเท่าไหร่เลย และผลตอบแทนที่ได้มันคุ้มค่ามากๆ เพราะแค่ลูกดื้อน้อยลง นอกจากเราจะเหนื่อยน้อยลงแล้ว เรายังมีเวลาเหลือขึ้นเยอะด้วย ลองดูนะคะ
หมายเหตุ พอลูกดื้อน้อยลง เวลาเหลือมากขึ้น ลองปรับเวลามาเล่นกับลูกโดยไม่ต้องทำงานบ้านไปด้วย ลูกจะได้รับการเติมเต็มทางอารมณ์มากกว่าค่ะ
คืออย่างนี้ค่ะ เด็กๆ เนี่ย ไม่ได้เกิดมาเพื่อแก้แค้นพ่อและแม่ ไม่ได้ต้องการเกิดมาเพื่อสร้างความเดือดร้อนให้เรา เราทำให้เขาเกิดขึ้นมา และตามสัญชาตญาณการมีชีวิตรอด เขาต้องการความรัก ต้องการความสนใจ (ลองนึกภาพสมัยที่ยังมีผู้ล่าอยู่ในทุ่ง ถ้าเราไม่รัก ไม่สนใจ ทำเหมือนลูกไม่มีตัวตน มนุษย์เราคงสูญพันธุ์ไปหมดแล้วจริงมั้ยคะ)
ปัญหาอยู่ที่เด็กๆ ดันไม่ได้เกิดมาพร้อมสมองที่พัฒนาแล้ว (เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น หัวเขาจะโตจนออกมาไม่ได้ค่ะ) เขาไม่สามารถคิดเองได้ ว่าทำอย่างไรพ่อแม่ถึงจะรักและสนใจเขา เขาเลยลองผิดลองถูกไปเรื่อย จนกว่าจะเจอสิ่งที่ดึงความสนใจไปจากเราได้ (คำว่าลองผิดลองถูกนี่แหละค่ะ ตัวปัญหาเลย)
เพราะฉะนั้น ถ้าเราแค่ชิงแสดงออกถึงความรัก ความสนใจ ลูกก็จะไม่ลองผิดลองถูกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ถ้าเราชิงให้ความสำคัญกับเขา เขาก็จะไม่แสดงอาการต่อต้านเพียงเพื่อให้เรารับรู้ว่า เขายังอยู่ตรงนี้ ยังมีตัวตนอยู่ตรงนี้นะ
แล้วจะทำได้อย่างไร อยู่กับลูกตลอดเวลา ทำทุกอย่างเพื่อลูก ให้ทุกอย่างลูกเลยดีมั้ย
ต้องบอกว่า ทำไม่ได้ และไม่ควรทำค่ะ เด็กๆ ต้องการขอบเขตที่ชัดเจน พอๆ กับอิสระ เพราะถ้าเราไม่มีขอบเขตเลย เด็กจะรู้สึกไม่มั่นคงค่ะ เขาไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเราจะปล่อยเขาเดินตกผาไปเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้น ยังไงก็ต้องมีขอบเขต
การเป็นพ่อแม่ขี้เล่นเลยเข้ามามีบทบาทตรงนี้ค่ะ เพราะเวลาที่เราเล่น (เล่นจริงๆ นะคะ ไม่ใช่สอนไปเล่นไปนะคะ) เด็กๆ จะรู้สึกได้ถึงความรัก เมื่อเราเล่นอย่างอิสระโดยยอมให้ลูกนำเราเล่น (เช่น บทบาทสมมติ ลูกอยากเล่นเป็นครูแล้วให้เราเล่นเป็นนักเรียน เราคอยโต้ตอบไปตามบทบาทที่ลูกนำ) ลูกจะรู้สึกว่าเขาสำคัญ มีตัวตน เรามองเห็นเขา และตอบสนองเขา
เวลาเล่น ยังเป็นเวลาที่ลูกมีความสุข เล่นด้วยกันก็สุขร่วมกัน ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ยังจะส่งผลให้ลูกให้ความร่วมมือดีขึ้นด้วยค่ะ
ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่มั้ยคะ แต่ปัญหาในการนำมาใช้ของเราก็คือ เราไม่มีเวลาเล่นกับลูกนี่สิ งานประจำก็ปาเข้าไปจะหมดวันละ งานบ้านก็ต้องทำ ลูกก็จะเล่นด้วยอีก อะไรกันนักกันหนา (รินก็เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันค่ะ)
ปัญหานี้มีทางออกค่ะ เราก็แค่ทำกิจวัตรประจำวันระหว่างเรากับเขา หรือปรับช่วงเวลาทำงานบ้านของเรา ให้เล่นกับเขาไปด้วย เริ่มจากลดความคาดหวัง เติมจินตนาการ และอารมณ์ขันลงไป ลองมาดูตัวอย่างเหล่านี้นะคะ
ล้างจาน - ชวนลูกมาล้างด้วยกัน ล้างไปเล่นฟองไปด้วยกันตามจินตนาการ
อาบน้ำให้ลูก - เอาตุ๊กตาลอยน้ำไปเล่นด้วยกัน ลองสมมติว่าลูกเปิดร้านอาบน้ำสัตว์ เราเป็นลูกมือ หรือลูกลงเล่นทะเลกับสัตว์ต่างๆ เราก็หยิบสัตว์ต่างๆ มาสวมบทพูดโต้ตอบกับลูก
เด็กๆ ต้องการเวลาแบบนี้แค่วันล่ะสองครั้ง ครั้งล่ะ 10 นาทีเท่านั้นเอง ไม่ได้ใช้เวลามากเท่าไหร่เลย และผลตอบแทนที่ได้มันคุ้มค่ามากๆ เพราะแค่ลูกดื้อน้อยลง นอกจากเราจะเหนื่อยน้อยลงแล้ว เรายังมีเวลาเหลือขึ้นเยอะด้วย ลองดูนะคะ
หมายเหตุ พอลูกดื้อน้อยลง เวลาเหลือมากขึ้น ลองปรับเวลามาเล่นกับลูกโดยไม่ต้องทำงานบ้านไปด้วย ลูกจะได้รับการเติมเต็มทางอารมณ์มากกว่าค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น