แม่ไม่เข้าใจหนู!
เคยคิดกันเล่นๆ มั้ยคะ ว่าอยากให้ลูกโตมาเป็นคนแบบไหน เพื่อนๆ รินเคยคุยกันสมัยจบใหม่ๆ ยังไม่มีลูก มีคนนึงตอบคำถามได้ประทับใจรินมาก (เพราะมันตลก) ว่า "เราอยากให้ลูกกตัญญู"
เวลาผ่านไป ตอนนี้ทุกคนเป็นคุณแม่กันหมดแล้ว กลับมาคุยกันอีกที ไม่มีใครสนใจให้ลูกกตัญญูแล้วค่ะ แต่เราก็ต้องการให้ลูกรักเรา คิดถึงเรา ไปมาหาสู่เราบ้าง เท่านั้นก็พอ เพราะฉะนั้นวันนี้รินจะเขียนเรื่อง การสร้างความสัมพันธ์ค่ะ :)
บ่อยครั้ง ที่เราเห็นครอบครัวที่มีพร้อมทุกสิ่ง มีพ่อแม่ที่ทุ่มเททำงาน ดูแลลูกๆ ในทุกๆ เรื่อง ส่งลูกเรียนตามที่ลูกต้องการ ซื้อของให้ตามที่ลูกร้องขอ พาไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ลูกๆ ก็ยิ่งเรียกร้อง ถ้าอะไรที่พ่อแม่ไม่ให้หรือให้ไม่ได้ ลูกก็พร้อมจะชี้ไปที่พ่อแม่ ว่าพ่อแม่บกพร่องต่อหน้าที่ หน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกให้ดี ให้ลูกมีความสุขที่สุด
และบ่อยครั้งอีกเช่นกัน ที่เราเห็นเด็กๆ จับกลุ่มนินทาพ่อแม่ หรือบางคนก็บ่นลงโซเชี่ยลเน็ทเวิร์ค ว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจที่ไม่ซื้อบัตรคอนเสิร์ตให้ พ่อแม่ไม่เข้าใจที่ไม่ยอมให้มีแฟน พ่อแม่ไม่เข้าใจ พ่อแม่ไม่เข้าใจ...
ไม่ว่าจะยากดีมีจนแตกต่างกันอย่างไร มีเวลาให้ลูกต่างกันอย่างไร สิ่งที่สองกลุ่มนี้มีเหมือนกัน คือ ความสัมพันธ์พ่อแม่กับลูกไม่ได้เป็นไปด้วยดีเท่าไหร่ค่ะ
ความสัมพันธ์ที่ดี ต้องมีความเข้าใจ
การสื่อสาร คือ กุญแจสำคัญสู่ความสัมพันธ์ที่ดี
การสื่อสาร คือ สิ่งเดียวที่จะสามารถสื่อความรู้สึกของเรากับลูกเข้าด้วยกันค่ะ การสื่อสารในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคำพูดเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงท่าทาง น้ำเสียง การฟัง บางครั้งการเงียบในจังหวะเวลาที่เหมาะสมก็หมายถึงการสื่อสารด้วยค่ะ
ทุกวันนี้ เรามีเทคโนโลยีที่น่าจะมาช่วยให้เราใกล้กันมากขึ้น แต่น่าแปลกนะคะ ที่ยิ่งใกล้ก็เหมือนยิ่งไกล จากการสำรวจในอเมริกาในปี 2005 เด็กๆ ใช้เวลาวันล่ะเกือบ 7 ชั่วโมงกับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ และมีเวลาร่วมกับพ่อแม่เหลือเพียง 1 ใน 4 จากสมัยเราๆ เท่านั้นเอง ยิ่งเวลาเหลือน้อย ยิ่งต้องสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งต้องสื่อสารให้เป็นค่ะ
สื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
1. ฟังให้เป็น
การมีเวลาพิเศษร่วมกัน คือ หนทางสู่ใจที่เชื่อมโยงผูกพันกัน
เด็กๆ ยิ่งโต ก็ยิ่งมีโลกของเขามากขึ้น ยิ่งโตก็ยิ่งสานสัมพันธ์กันยากขึ้น เริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกตั้งแต่วันนี้ จะส่งผลดีในระยะยาวค่ะ
ถ้าลูกมีคนที่ลูกสามารถเปิดอกพูดคุยได้ในทุกๆ เรื่อง ยอมรับ และรักลูกอย่างที่ลูกเป็น ไม่ว่าวันข้างหน้าโลกจะโหดร้ายเพียงใด ลูกก็จะมีที่พักพิงที่อบอุ่นมั่นคง เพื่อเติมพลังให้ลูกสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปได้ มาเป็นคนๆ นั้นให้ลูกกันนะคะ
Tag: วิธีพูดกับลูก พูดกับลูกอย่างไร ฟังลูกอย่างไร สื่อสารเชิงบวก สร้างสัมพันธ์กับลูก
เวลาผ่านไป ตอนนี้ทุกคนเป็นคุณแม่กันหมดแล้ว กลับมาคุยกันอีกที ไม่มีใครสนใจให้ลูกกตัญญูแล้วค่ะ แต่เราก็ต้องการให้ลูกรักเรา คิดถึงเรา ไปมาหาสู่เราบ้าง เท่านั้นก็พอ เพราะฉะนั้นวันนี้รินจะเขียนเรื่อง การสร้างความสัมพันธ์ค่ะ :)
บ่อยครั้ง ที่เราเห็นครอบครัวที่มีพร้อมทุกสิ่ง มีพ่อแม่ที่ทุ่มเททำงาน ดูแลลูกๆ ในทุกๆ เรื่อง ส่งลูกเรียนตามที่ลูกต้องการ ซื้อของให้ตามที่ลูกร้องขอ พาไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ลูกๆ ก็ยิ่งเรียกร้อง ถ้าอะไรที่พ่อแม่ไม่ให้หรือให้ไม่ได้ ลูกก็พร้อมจะชี้ไปที่พ่อแม่ ว่าพ่อแม่บกพร่องต่อหน้าที่ หน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกให้ดี ให้ลูกมีความสุขที่สุด
และบ่อยครั้งอีกเช่นกัน ที่เราเห็นเด็กๆ จับกลุ่มนินทาพ่อแม่ หรือบางคนก็บ่นลงโซเชี่ยลเน็ทเวิร์ค ว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจที่ไม่ซื้อบัตรคอนเสิร์ตให้ พ่อแม่ไม่เข้าใจที่ไม่ยอมให้มีแฟน พ่อแม่ไม่เข้าใจ พ่อแม่ไม่เข้าใจ...
ไม่ว่าจะยากดีมีจนแตกต่างกันอย่างไร มีเวลาให้ลูกต่างกันอย่างไร สิ่งที่สองกลุ่มนี้มีเหมือนกัน คือ ความสัมพันธ์พ่อแม่กับลูกไม่ได้เป็นไปด้วยดีเท่าไหร่ค่ะ
ความสัมพันธ์ที่ดี ต้องมีความเข้าใจ
การสื่อสาร คือ กุญแจสำคัญสู่ความสัมพันธ์ที่ดี
การสื่อสาร คือ สิ่งเดียวที่จะสามารถสื่อความรู้สึกของเรากับลูกเข้าด้วยกันค่ะ การสื่อสารในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคำพูดเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงท่าทาง น้ำเสียง การฟัง บางครั้งการเงียบในจังหวะเวลาที่เหมาะสมก็หมายถึงการสื่อสารด้วยค่ะ
ทุกวันนี้ เรามีเทคโนโลยีที่น่าจะมาช่วยให้เราใกล้กันมากขึ้น แต่น่าแปลกนะคะ ที่ยิ่งใกล้ก็เหมือนยิ่งไกล จากการสำรวจในอเมริกาในปี 2005 เด็กๆ ใช้เวลาวันล่ะเกือบ 7 ชั่วโมงกับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ และมีเวลาร่วมกับพ่อแม่เหลือเพียง 1 ใน 4 จากสมัยเราๆ เท่านั้นเอง ยิ่งเวลาเหลือน้อย ยิ่งต้องสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งต้องสื่อสารให้เป็นค่ะ
สื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
1. ฟังให้เป็น
ฟังด้วยความสนใจ ฟังด้วยการยอมรับ ฟังด้วยการพูดทวนสิ่งที่ลูกต้องการสื่อออกมา
เวลาลูกต้องการพูดด้วย ควรละความสนใจจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ก่อน เพื่อให้ความสนใจทั้งหมดอยู่ที่เขาค่ะ ถ้าทำกับข้าวอยู่ก็ให้หยุดทำก่อน ถ้าเล่นโทรศัพท์อยู่ ก็ให้หยุดก่อน ถ้ายังไม่สามารถหยุดได้หรือยังไม่ควรหยุด ให้พูดคุยกับลูกว่า เราอยากฟังสิ่งที่เขาจะบอก แต่ให้รอจนกว่าเราจัดการตรงนี้เสร็จหรือจนถึงเวลาที่เราพร้อมคุยค่ะ การทำแบบนี้ ลูกจะรู้สึกว่า เราสนใจที่จะฟังเขาจริงๆ ลูกจะรู้สึกว่า สิ่งที่เขาจะเล่า สิ่งที่เขาเจอ สิ่งที่เขาคิด มันสำคัญสำหรับเรา เขาสำคัญสำหรับเรา
เวลาคุยกับลูก ให้ยอมรับในสิ่งที่ลูกรู้สึก ยอมรับกับเห็นด้วยไม่เหมือนกันนะคะ บางเรื่องเราไม่เห็นด้วยเลย แต่เราจะไม่ตัดสินลูกค่ะ เช่น ลูกกลับมาบ่นว่า ลูกเกลียดโรงเรียนมาก ลูกบอกว่าเพื่อนไม่รัก ลูกบอกว่าครูไม่ยุติธรรม เราไม่ควรสวนกลับว่า ไม่จริงหรอกลูกคิดมากไป ไม่จริงหรอกเพื่อนรักหนูจะตายแม่รู้ หรือ เกลียดโรงเรียนไม่ได้นะ จำไว้ว่า ไม่ว่าความจริงคืออะไร สิ่งที่เขารู้สึกคือความรู้สึกของเขา และนั่นเป็นของจริงค่ะ การไม่ยอมรับความรู้สึกเขา ลูกจะคิดว่า เราไม่เข้าใจ ไม่ฟัง ไม่เชื่อ พูดไปก็เท่านั้น
เมื่อลูกมีปัญหามาปรึกษา ถ้าปัญหานั้นไม่ร้ายแรงเกินไป เราจะไม่รีบร้อนชี้แนะ เพราะเด็กๆ เองก็สมควรได้รับโอกาสที่จะได้ลองแก้ปัญหาของตัวเองด้วยตนเอง การรีบชี้แนะ ยังทำให้เด็กรู้สึกว่า เราเห็นปัญหาของเขาเป็นแค่เรื่องเล็กๆ ไม่มีค่ามากพอที่จะต้องใส่ใจ ดังนั้นเราจะใช้วิธีการพูดทวนสิ่งที่ลูกต้องการสื่อออกมาในการช่วยลูกคิดค่ะ นอกจากนั้นวิธีนี้จะช่วยให้เราเข้าใจลูกมากขึ้น และช่วยให้ลูกรู้สึกว่าเราเข้าใจเขาจริงๆ ด้วยค่ะ
การพูดทวน จะช่วยให้เด็กเข้าใจปัญหาของตัวเองได้ชัดเจนขึ้นค่ะ เช่น
ลูก "บอลบอกว่าไม่อยากเล่นกับหนูแล้ว"
แม่ "หนูคงรู้สึกเสียใจที่บอลพูดอย่างนั้นนะลูก"
ลูก "ใช่ค่ะ จริงๆ แล้วบอลก็แค่อยากเล่นของเล่นของหนู แล้วหนูไม่อยากแบ่งให้"
แม่ "บอลอยากเล่นของเล่นของหนู"
ลูก "ค่ะแม่ บอลไม่เคยเอาของเล่นของตัวเองมาเลย"
แม่ "บอลไม่เคยเอาของเล่นมาเองเลย"
ลูก "บางทีบอลอาจจะไม่มีของเล่น บอลเลยต้องมาเล่นของเล่นของเพื่อนๆ"
แม่ "นั่นสินะ บอลอาจจะไม่มีของเล่นเลยก็ได้"
ลูก "พรุ่งนี้หนูเอาของเล่นไปเผื่อบอลดีกว่า เราจะได้เล่นด้วยกัน ดีมั้ยคะแม่"
บางครั้ง ลูกก็ไม่ได้สื่อออกมาทางคำพูด การกระแทกประตูปิดดังปัง อาจสื่อถึงความหงุดหงิด หรืออารมณ์โกรธของลูก ลองหันมาใส่ใจในอารมณ์และรับฟังสาเหตุ จะได้ผลดีมากกว่าการต่อว่าสั่งสอนลูกไม่ให้กระแทกประตูค่ะ
2. พูดให้เป็น
พูดอย่างไม่โจมตีตัวบุคคล สื่อความรู้สึกของเราออกไปโดยไม่ประชด พูดด้วยน้ำเสียงและท่าทางที่สื่อความหมายในสิ่งที่ต้องการบอกลูก
ขึ้นต้นประโยคด้วยตัวเราค่ะ เรารู้สึก + พฤติกรรมที่เราไม่ยอมรับ "แม่เสียใจที่หนูโกหกแม่ มันทำให้แม่รู้สึกว่า แม่ไม่มีค่าพอที่หนูจะพูดความจริงด้วย" "แม่โกรธที่หนูตีน้อง" การสื่อสารลักษณะนี้ ลูกจะไม่รู้สึกว่า เรามองว่าเขาเป็นคนไม่ดี แค่มีพฤติกรรมบางอย่างที่เราไม่ชอบ
เวลาพูดกับลูก ควรพูดด้วยน้ำเสียงและท่าทางที่สื่อความหมายอย่างชัดเจนในสิ่งที่ต้องการบอก เพราะแค่คำพูดมันแปลได้หลายแบบค่ะ "แม่อยากรู้ว่าหนูไปทำอะไรที่บ้านเพื่อนวันนี้" น้ำเสียงของเราจะเป็นตัวบอกลูกว่า เราถามเพราะไม่ชอบ ต้องการต่อว่า หรือสนใจอยากรู้ หรือ "เกรดเทอมนี้ดีกว่าเทอมที่แล้วนะ" มันอาจหมายถึง เราคิดว่า ลูกน่าจะทำได้ดีกว่านี้ หรือ เรารู้สึกภูมิใจ ดีใจจัง ที่ลูกเรียนดีขึ้น สำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญการแสดงออกทางสีหน้าหรือน้ำเสียงนัก ในตอนแรกรินอยากให้ลองพูดความรู้สึกของเราออกไปด้วยค่ะ ลูกจะได้ไม่เข้าใจเราผิด
การประชดก็มักทำให้เหตุการณ์ต่างๆ แย่ลงค่ะ เพราะสมองลูกยังไม่พัฒนามากพอที่จะมองทะลุคำพูดเราไปถึงเจตนาดีที่เราแผงไว้ได้ ถ้าเราบอกลูกว่า "ขี้เกียจอย่างนี้ ส่งเรียนไปก็เปลืองเงินแม่เปล่าๆ" "กลับดึกๆ ดื่นๆ อย่างนี้ เดี๋ยวก็ได้ผัวเข้าสักวันหรอก" แน่นอน เราพูดเพราะรู้สึกเป็นห่วง แต่ลองคิดถึงเวลาที่เราได้ยินคำพูดประชดจากพ่อแม่ตอนเด็กๆ สิคะ เราคิดได้แค่ว่า แม่ว่าเราเพราะเราไม่ได้เรื่อง แม่ว่าเราเพราะแม่ไม่รักเรา แม่ว่าเราเพราะแม่ไม่เข้าใจเรา ดีไม่ดีลูกประชดกลับ ไหนๆ แม่ก็คิดว่าเป็นแบบนั้นแล้วนี่ ทำมันซะเลยสิ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นห่วงก็พูดออกไปตรงๆ ว่าเป็นห่วงดีกว่าค่ะ
รูปแบบคำพูดก็มีผลทำให้ลูกยอมรับหรือต่อต้านด้วยเหมือนกันค่ะ มีงานวิจัยนึงค้นพบว่า คำว่าไม่ มันสื่ออารมณ์เชิงลบ ทั้งคนพูดคนฟัง รู้สึกแย่ทั้งคู่ ลองพูดคำว่า "ไม่" หน้ากระจกสัก 20 ครั้งสิคะ แตกต่างจากคำว่า "ได้" 20 ครั้งมากๆ เลย และจากการศึกษา พบว่า วันๆ นึง เราใช้คำว่าไม่กับลูกมากกว่า 400 กว่าครั้งเลยค่ะ ลองเปลี่ยนคำว่าอย่า หรือ ไม่ เป็นคำว่าใช่ หรือ ได้ ลงในประโยค "อย่าปิดประตูเสียงดัง" "อย่าวิ่งไปเคี้ยวข้าวไป" ลองเปลี่ยนเป็น "ปิดประตูเบาๆ นะ" "เคี้ยวข้าวให้หมดปากก่อนแล้วค่อยไปเล่น" จะได้ผลดีกว่าค่ะ
การมีเวลาพิเศษร่วมกัน คือ หนทางสู่ใจที่เชื่อมโยงผูกพันกัน
เราไม่สามารถบังคับให้มีการพูดคุยสื่อสารได้ เราทำได้แค่ สร้างบรรยากาศที่ดี ให้ลูกรู้สึกอยากพูดออกมา เวลาพิเศษเองก็เป็นหนึ่งในการสร้างบรรยากาศ และเปิดโอกาสให้ลูกได้พูดค่ะ
ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไหร่ ลูกต้องการเวลา 1 ต่อ 1 กับพ่อแม่แต่ล่ะท่านค่ะ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ยิ่งบ่อยยิ่งดีแต่ถ้าไม่สามารถสร้างช่วงเวลานั้นได้ทุกวันก็ไม่เป็นไรค่ะ บ้านที่ไม่มีเวลาจะใช้วิธีสลับกันไปรับไปส่งลูก หรือใช้วิธีแวะกินอะไรนอกบ้านด้วยกันก็ได้ เพราะบางเรื่องลูกก็ไม่อยากพูดกับพ่อ บางเรื่องลูกก็อยากพูดกับแม่เพียงคนเดียว
ถ้าเป็นเด็กเล็ก การเล่นด้วยกันจะส่งผลดีมากต่อการกระชับความสัมพันธ์ โดยเฉพาะการเล่นที่มีการสัมผัสตัวกันมากๆ เช่น เล่นเครื่องบิน ขี่ม้า จับมือเหวี่ยง อุ้มโยน
สำหรับเด็กโต การทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การทำอาหาร ขี่จักรยาน เดินเล่น เดินทางไกล ด้วยกัน ก็จะช่วยให้เด็กรู้สึกผูกพันกับเรา ลูกรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษของพ่อแม่ สามารถไว้ใจพ่อแม่ได้ จิตใจได้รับการเติมเต็ม และเปิดโอกาสให้เราได้เปิดใจพูดคุยกันด้วยค่ะ จริงๆ เด็กโตเองก็ยังต้องการการสัมผัสจากพ่อแม่อยู่นะคะ แต่ไม่ว่าจะด้วยอายเพื่อนหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้เขาไม่ยอมรับการกอดกับเราค่ะ ลองใช้วิธี "แม่รู้ว่าหนูโตแล้ว ไม่ต้องกอดแม่ก็ได้ แต่แม่อยากกอดลูก มาให้แม่กอดหน่อยมา"
เด็กๆ ยิ่งโต ก็ยิ่งมีโลกของเขามากขึ้น ยิ่งโตก็ยิ่งสานสัมพันธ์กันยากขึ้น เริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกตั้งแต่วันนี้ จะส่งผลดีในระยะยาวค่ะ
ถ้าลูกมีคนที่ลูกสามารถเปิดอกพูดคุยได้ในทุกๆ เรื่อง ยอมรับ และรักลูกอย่างที่ลูกเป็น ไม่ว่าวันข้างหน้าโลกจะโหดร้ายเพียงใด ลูกก็จะมีที่พักพิงที่อบอุ่นมั่นคง เพื่อเติมพลังให้ลูกสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปได้ มาเป็นคนๆ นั้นให้ลูกกันนะคะ
#รักลูกให้กอด
Tag: วิธีพูดกับลูก พูดกับลูกอย่างไร ฟังลูกอย่างไร สื่อสารเชิงบวก สร้างสัมพันธ์กับลูก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น