Time-in / มุมสงบ / ธรรมชาติบำบัด ทางเลือกช่วยลูกสงบอารมณ์นอกจาก Time-out
จากที่เล่าไปในตอน Time's up for time-out? การทำ Time-out ไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน อย่างลูกรินเองก็ใช้ Time-out ไม่ได้ เพราะลูกเป็นเด็กที่เซ้นสิทีฟมากกกกกกก รินขอแนะนำทางเลือกอื่นที่รินใช้เพื่อช่วยให้ลูกสงบแล้วได้ผลดีค่ะ
อย่างแรกเลยที่รินใช้บ่อยสุดและชอบที่สุด Time-in
1) Time-in
Time-in (ไทม์อิน) คือ การที่เราจะเข้าไปประกบลูก เมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือทางอารมณ์ เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง เราจะใช้ความสงบของเราช่วยลูกให้ผ่อนคลายลง และใช้การชี้นำของเราให้ลูกคิดได้ค่ะ
วิธีการทำ time-in เราจะเริ่มจากการสัมผัสตัว กอด ประกบไว้ พาไปหามุมที่สงบและรู้สึกสบายด้วยกัน จะเป็นโซฟาที่บ้านหรืออะไรก็ได้ค่ะ แล้วเริ่มพูดคุยด้วยการรับฟัง แสดงความเข้าใจ สะท้อนสิ่งที่ลูกกำลังรู้สึก บอกลูกว่าลูกกำลังรู้สึกอะไร ปลอบให้ลูกสงบ และชวนคิดหาทางออกเมื่อลูกสงบแล้ว
การทำ time-in จะเริ่มต้นยากนิดหน่อยถ้าอารมณ์ที่ลูกมีในตอนนั้นเป็นอารมณ์โกรธไม่ใช่อารมณ์เศร้า หรือผิดหวัง เพราะลูกจะไม่ยอมให้เรากอดง่ายๆ ค่ะ เทคนิคคือ ให้กอดลูกไว้จากด้านหลังแทน เราจะได้ไม่เจ็บตัวจากการที่ลูกดิ้นหรืออาละวาดค่ะ
รูปจาก http://www.empoweringparents.com/coaching-kids-to-calm-down.php
Time-in ไม่ใช่การให้รางวัลกับพฤติกรรมไม่ดีของลูก ไม่ใช่การโอ๋ลูก เพราะเราไม่ได้ตอบสนองด้วยสิ่งของ ไม่ได้ตามใจ แต่เรากำลังสอนลูกจัดการอารมณ์และปัญหาของลูก ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะยิ่งมีพฤติกรรมไม่ดีเพราะเราทำ time-in ในทางกลับกัน time-in ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ที่ร้องเพราะต้องการความสนใจได้รับความสนใจจากเราอย่างเต็มที่ด้วย เมื่อเด็กได้รับความสนใจเต็มที่ พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจก็จะหายไปเองค่ะ
ข้อดีของ Time-in
Daniel Siegel เปรียบเทียบสมองของเด็กๆ ว่าเหมือนบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จค่ะ เปรียบชั้นล่างของบ้านกับสมองส่วนล่าง และชั้นบนของบ้านกับสมองส่วนบน ชั้นล่างที่เป็นห้องครัวหรืออะไรที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีพทั้งหมดได้สร้างเสร็จพร้อมใช้งานแล้ว แต่ชั้นบนยังมีวัสดุก่อสร้างวางระเกะระกะอยู่ บันไดก็ยังสร้างไม่เสร็จแถมมีของวางขวางทางเดินเต็มไปหมด เมื่ออารมณ์ลูกปะทุขึ้น มันก็เหมือนไฟไหม้ที่ชั้นล่าง จะให้ลูกวิ่งจากบ้านชั้นบนมาดับไฟที่กำลังไหม้ที่ชั้นล่างคงเป็นไปได้ยาก
การทำ Time-in เป็นการช่วยลูกดับไฟที่ชั้นล่าง แล้วพาลูกลงมาจากชั้นบน หาสาเหตุที่ไฟไหม้ สอนลูกให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และสอนถึงวิธีการดับไฟ การทำแบบนี้บ่อยๆ ทางเดินก็จะเปิดกว้างขึ้น บันไดโล่งขึ้น นั่นหมายถึงทางเดินจากสมองส่วนบนมาควบคุมสมองส่วนล่างได้รับการพัฒนา ลูกก็จะเริ่มเดินลงมาดับไฟเองได้ง่ายขึ้น
การทำ Time-in เป็นการช่วยลูกดับไฟที่ชั้นล่าง แล้วพาลูกลงมาจากชั้นบน หาสาเหตุที่ไฟไหม้ สอนลูกให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และสอนถึงวิธีการดับไฟ การทำแบบนี้บ่อยๆ ทางเดินก็จะเปิดกว้างขึ้น บันไดโล่งขึ้น นั่นหมายถึงทางเดินจากสมองส่วนบนมาควบคุมสมองส่วนล่างได้รับการพัฒนา ลูกก็จะเริ่มเดินลงมาดับไฟเองได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นจุดเด่นที่สุดของ time-in คงจะอยู่ที่เราได้มีโอกาสสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ ลูกได้เรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ควรแก้ไขอย่างไร นอกจากนั้น ยังช่วยให้ลูกได้ฝึกคิดทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นอีกด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกได้เติบโตขึ้นทั้งทางอารมณ์ การควบคุมตนเอง ความเข้าใจตนเองและผู้อื่น และทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างมากกับลูกในระยะยาวค่ะ (จากการที่รินใช้ time-in กับลูกบ่อยที่สุด รินพบว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ด้วยค่ะ ลูกได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ และหัดแก้ปัญหาด้วยตัวเองค่ะ)
ข้อเสียของ Time-in
มันดูดพลังชีวิตเราค่ะ คิดดูว่าจังหวะที่ลูกกำลังร้องไห้ กรี๊ดๆๆ อาละวาดเตะเอาๆ เราต้องเข้าประกบลูก กอดลูก ใจเย็น รับฟัง และเข้าใจในสิ่งที่ดูไม่มีเหตุผลเลยในสายตาเรา ...มันเหนื่อยและเครียดค่ะ... ยิ่งถ้าบ้านไหนเด็กๆ อารมณ์ขึ้นลงบ่อยๆ นะ เราจะรู้สึกว่าพลังชีวิตเราหมดไปอย่างรวดเร็วมากในแต่ล่ะวัน เพราะฉะนั้นตอนไหนที่รินเหนื่อย เครียด ไม่พร้อมจะช่วยลูก รินก็จะไม่ทำ time-in ค่ะ ตัวเองยังเอาไม่รอด จะไปช่วยให้ลูกสงบลงได้ยังไง จริงมั้ยคะ
2) มุมสงบ
มุมสงบก็คล้ายกับ time-out ค่ะ แต่การทำ time-out เราจะให้สถานที่ที่ลูกไปนั่งอยู่ไม่มีของเล่นอะไรเลย แต่ในมุมสงบเราจะมีของเล่นบางอย่างที่ช่วยทำให้ลูกรู้สึกสงบลงได้วางไว้ให้ลูก เช่น สีและกระดาษ ตัวต่อ นิทาน ตุ๊กตานิ่มๆ หรือ calm down jar
แล้วไม่เป็นการให้รางวัลลูกหรือ? ไม่ค่ะ จุดประสงค์ของมุมสงบมีไว้เพื่อช่วยให้ลูกสงบอารมณ์ได้ค่ะ เราไม่ได้ใช้มุมสงบเพื่อปรับพฤติกรรมลูก แต่เราใช้เพื่อช่วยให้ลูกสามารถคุมอารมณ์ตัวเองลงได้ เหมือนที่บางครั้งที่เราบำบัดความรู้สึกเครียดด้วยการจิบกาแฟ หรือบางเวลาที่เราเศร้าเราก็อยากนั่งซุกหน้าลงในตุ๊กตาตัวใหญ่เหมือนกัน
ข้อดีและข้อเสียของมุมสงบ
มันใกล้เคียงกับ time-out มากค่ะ มันดีตรงที่เราไม่เหนื่อย ดีที่เราเองก็ได้พัก และมันดีกว่า time-out ตรงที่ลูกไม่รู้สึกว่าถูกทำโทษ ลูกไม่ต่อต้าน ไม่พยายามคิดหาวิธีออกมาจากเก้าอี้เหมือนการทำ time-out ค่ะ
3) ธรรมชาติบำบัด (Ecotherapy / Green therapy)
รินก็ไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วควรจะเรียกมันว่าอะไร มันคือการเดินเล่นด้วยกันค่ะ วิธีนี้ใกล้เคียงกับ time-in ตรงที่รินจะอยู่ข้างๆ ลูกตลอดเวลา แต่รินจะพาเดินเล่นไปในสวนแทนที่จะหามุมสงบนั่งพูดคุยกัน บ่อยครั้งที่รินไม่ได้พูดอะไรเลย แค่เดินจับมือลูกไปเงียบๆ ปล่อยให้ธรรมชาติทำงานของมันไป
มีงานวิจัยพบว่าการเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติ สามารถทำให้คลายความวิตกกังวล เศร้า หรือเครียดได้ และการเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแค่สวนหลังบ้านเพียง 5 นาทีทำให้อารมณ์ดีขึ้นแล้วค่ะ นอกจากนั้น การขยับแข้งขยับขายังช่วยให้เราดึงสติกลับมาได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ
ข้อดีของธรรมชาติบำบัด
มันไม่เหนื่อยค่ะ เราไม่ต้องพยายามอะไรมากมาย แค่พาลูกเดินไปเรื่อยๆ คอยรับฟังถ้าลูกรู้สึกอยากพูด พอลูกสงบค่อยชวนลูกคิดต่อ และที่สำคัญธรรมชาติไม่เลือกปฏิบัติค่ะ การที่เราพาลูกไปเดินก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายไปด้วยค่ะ
ข้อเสียของธรรมชาติบำบัด
ไม่มีธรรมชาติก็ใช้ธรรมชาติบำบัดไม่ได้ค่ะ บางจังหวะก็ไม่เหมาะกับการพาลูกไปเดินข้างนอก บางสถานที่ก็ไม่ได้มีธรรมชาติให้เราพาไปเดินค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อ่านดูแล้วมีวิธีไหนที่เหมาะกับเราบ้างมั้ยคะ หวังว่าจะเป็นทางเลือกให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกรับมือกับพายุอารมณ์ที่โหมพัดในร่างกายเล็กๆ ของพวกเขาได้นะคะ
Tag: ไทม์อิน Time-in รับมืออารมณ์ลูก ฝึกทักษะทางอารมณ์ เลี้ยงลูกเชิงบวก
มุมสงบก็คล้ายกับ time-out ค่ะ แต่การทำ time-out เราจะให้สถานที่ที่ลูกไปนั่งอยู่ไม่มีของเล่นอะไรเลย แต่ในมุมสงบเราจะมีของเล่นบางอย่างที่ช่วยทำให้ลูกรู้สึกสงบลงได้วางไว้ให้ลูก เช่น สีและกระดาษ ตัวต่อ นิทาน ตุ๊กตานิ่มๆ หรือ calm down jar
แล้วไม่เป็นการให้รางวัลลูกหรือ? ไม่ค่ะ จุดประสงค์ของมุมสงบมีไว้เพื่อช่วยให้ลูกสงบอารมณ์ได้ค่ะ เราไม่ได้ใช้มุมสงบเพื่อปรับพฤติกรรมลูก แต่เราใช้เพื่อช่วยให้ลูกสามารถคุมอารมณ์ตัวเองลงได้ เหมือนที่บางครั้งที่เราบำบัดความรู้สึกเครียดด้วยการจิบกาแฟ หรือบางเวลาที่เราเศร้าเราก็อยากนั่งซุกหน้าลงในตุ๊กตาตัวใหญ่เหมือนกัน
ข้อดีและข้อเสียของมุมสงบ
มันใกล้เคียงกับ time-out มากค่ะ มันดีตรงที่เราไม่เหนื่อย ดีที่เราเองก็ได้พัก และมันดีกว่า time-out ตรงที่ลูกไม่รู้สึกว่าถูกทำโทษ ลูกไม่ต่อต้าน ไม่พยายามคิดหาวิธีออกมาจากเก้าอี้เหมือนการทำ time-out ค่ะ
3) ธรรมชาติบำบัด (Ecotherapy / Green therapy)
รินก็ไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วควรจะเรียกมันว่าอะไร มันคือการเดินเล่นด้วยกันค่ะ วิธีนี้ใกล้เคียงกับ time-in ตรงที่รินจะอยู่ข้างๆ ลูกตลอดเวลา แต่รินจะพาเดินเล่นไปในสวนแทนที่จะหามุมสงบนั่งพูดคุยกัน บ่อยครั้งที่รินไม่ได้พูดอะไรเลย แค่เดินจับมือลูกไปเงียบๆ ปล่อยให้ธรรมชาติทำงานของมันไป
มีงานวิจัยพบว่าการเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติ สามารถทำให้คลายความวิตกกังวล เศร้า หรือเครียดได้ และการเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแค่สวนหลังบ้านเพียง 5 นาทีทำให้อารมณ์ดีขึ้นแล้วค่ะ นอกจากนั้น การขยับแข้งขยับขายังช่วยให้เราดึงสติกลับมาได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ
ข้อดีของธรรมชาติบำบัด
มันไม่เหนื่อยค่ะ เราไม่ต้องพยายามอะไรมากมาย แค่พาลูกเดินไปเรื่อยๆ คอยรับฟังถ้าลูกรู้สึกอยากพูด พอลูกสงบค่อยชวนลูกคิดต่อ และที่สำคัญธรรมชาติไม่เลือกปฏิบัติค่ะ การที่เราพาลูกไปเดินก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายไปด้วยค่ะ
ข้อเสียของธรรมชาติบำบัด
ไม่มีธรรมชาติก็ใช้ธรรมชาติบำบัดไม่ได้ค่ะ บางจังหวะก็ไม่เหมาะกับการพาลูกไปเดินข้างนอก บางสถานที่ก็ไม่ได้มีธรรมชาติให้เราพาไปเดินค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อ่านดูแล้วมีวิธีไหนที่เหมาะกับเราบ้างมั้ยคะ หวังว่าจะเป็นทางเลือกให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกรับมือกับพายุอารมณ์ที่โหมพัดในร่างกายเล็กๆ ของพวกเขาได้นะคะ
#รักลูกให้กอด
Tag: ไทม์อิน Time-in รับมืออารมณ์ลูก ฝึกทักษะทางอารมณ์ เลี้ยงลูกเชิงบวก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น