ลูกดื้อมาก ทำอย่างไรดี?

"ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ
เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟังแบบนี้ เหมือนเราเป็นแม่ที่ไม่อบรมลูก เลี้ยงลูกไม่เป็น ..
ถ้าใครกำลังมีความทุกข์กับการที่ลูกไม่เชื่อฟังอยู่ หันมาฟังทางนี้ค่ะ 
การที่ลูกไม่เชื่อฟัง เป็นเรื่อง "ปกติ" ของพัฒนาการเด็ก และเป็น"เรื่องที่ดี" ค่ะ
เพราะการที่เด็กดื้อ แปลว่าเขาตระหนักว่าความคิดเห็นของเขาเป็นสิ่งสำคัญ การที่เขากล้าเถียง นั่นแปลว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากพอที่เขาจะกล้าแสดงความคิดเห็นของเขาออกมา เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองจะมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่าด้วยค่ะ



"ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ
เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟังแบบนี้ เหมือนเราเป็นแม่ที่ไม่อบรมลูก เลี้ยงลูกไม่เป็น ..
ถ้าใครกำลังมีความทุกข์กับการที่ลูกไม่เชื่อฟังอยู่ หันมาฟังทางนี้ค่ะ 
การที่ลูกไม่เชื่อฟัง เป็นเรื่อง "ปกติ" ของพัฒนาการเด็ก และเป็น"เรื่องที่ดี" ค่ะ
เพราะการที่เด็กดื้อ แปลว่าเขาตระหนักว่าความคิดเห็นของเขาเป็นสิ่งสำคัญ การที่เขากล้าเถียง นั่นแปลว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากพอที่เขาจะกล้าแสดงความคิดเห็นของเขาออกมา เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองจะมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่าด้วยค่ะ
กลับกัน เด็กที่เชื่อฟังทุกเรื่อง ทำตามคำสั่งทุกอย่าง ไม่หือไม่อือเลย กลับน่าเป็นห่วงกว่า ลองนึกภาพเด็กที่ไม่กล้าขัดคำสั่งใครเลยสิคะ ส่วนใหญ่จะตกเป็นเป้าการรังแกในโรงเรียน เมื่อโตมาเพื่อนชวนไปลองยาเสพติดหรือทำเรื่องเสี่ยงอันตรายก็ไม่กล้าขัด
เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าลูกเราจะต้องไปเจอกับอะไรบ้างในอนาคต หันมาสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเขาจะดีกว่าค่ะ การที่เราเลี้ยงเขามาให้เป็นคนที่มีความคิดของตัวเอง เข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร และกล้ายืนหยัดในความคิดของตัวเอง (ดื้อ) จะทำให้เขากล้าที่จะปฏิเสธสิ่งที่เขาคิดแล้วว่าเขาไม่ต้องการ
มองแบบนี้ เวลาลูกดื้อก็ทุกข์น้อยลงนะคะ แต่รินก็ไม่ได้บอกว่าปล่อยลูกดื้อไปเลย ไม่ต้องมีขอบเขต ไม่ทำก็ไม่ทำ ไม่เอาก็ไม่เอานะคะ รินสนับสนุนการเลี้ยงลูกให้ดื้ออย่างมีคุณภาพค่ะ
1) ทุกครั้งที่ลูกแสดงอาการไม่พอใจ ให้รับฟัง และพยายามเข้าใจว่าทำไมเขาถึงไม่พอใจ มีอะไรที่เขาไม่เห็นด้วยหรือกังวล
2) ทุกๆ ครั้งที่ลูกทดสอบขอบเขตหรือกฎที่เรากำหนดไว้ ให้รักษาขอบเขตอย่างอ่อนโยนและมีเมตตาต่อลูก แสดงออกถึงความเข้าใจและเห็นใจลูกในขณะที่ยังรักษากฎนั้นไว้
3) เมื่อมีเรื่องขัดแย้งกันระหว่างเรากับลูก ลองรับฟัง และใช้วิธีเจรจาหาทางออกร่วมกัน ทางออกที่ดีกับทุกฝ่าย
จำไว้ว่า ลูกไม่ใช่สมบัติของเรา เขามีตัวตน มีความคิด มีความรู้สึก เราไม่สามารถควบคุมใครได้เลยค่ะ นอกจากตัวเราเอง ดังนั้นเราจะใช้วิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สื่อสารกัน และสร้างความรู้สึกอยากให้ความร่วมมือให้เกิดขึ้น
การบังคับให้ลูกเชื่อฟังอาจทำให้ลูกกลายเป็นคนที่ไม่กล้ายืนหยัดความคิดของตัวเองหรือคิดปฏิวัติเมื่อมีกำลังมากพอ แต่ความร่วมมืออย่างเต็มใจจากลูกจะได้ผลดีในระยะยาว ครอบครัวก็จะมีความกลมเกลียวกันด้วยค่ะ

#รักลูกให้กอด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สิ่งจำเป็นพื้นฐาน 4 อย่าง (Maslow's hierarchy of needs - 4 basic needs)

การเล่นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ (Importance of Play)

คิดก่อนสอน (Respond not react)