ทำอย่างไรดี เมื่อผู้ใหญ่ในบ้านเห็นไม่ตรงกัน
รินคิดว่าความขัดแย้งกันในเรื่องของแนวทางการเลี้ยงดูเด็กและรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เป็นปัญหาใหญ่ของทุกๆ ครอบครัวเมื่อมีเจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นสมาชิกในบ้าน เพราะถึงแม้ทุกคนจะรักและหวังดี แต่ทุกคนก็มีความคิดเป็นของตัวเอง เราก็เลยมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยๆ
และอย่างที่ทุกคนรู้กัน เด็กๆ ต้องการความสม่ำเสมอในกฎระเบียบต่างๆ ถ้าในครอบครัวมีแนวทางไม่ตรงกันก็มักจะเกิดปัญหาว่า คนนี้ไม่ให้งั้นหนูวิ่งไปขออีกคนก็ได้ สุดท้ายแล้วขอบเขตก็ไม่เป็นขอบเขต เด็กโตมาแบบไม่มีขอบเขต มีปัญหาเอาแต่ใจ หรือเกิดสถานการณ์แม่ใจร้ายพ่อใจดีในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่เข้มงวดกว่าไม่ดีนัก
พอปัญหาเรื้อรังหมักหมมไว้นานเข้า สุดท้ายก็จะมีคนเริ่มทนไม่ไหว เริ่มขัดแย้งกับอีกฝ่ายต่อหน้าลูก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ เลยค่ะ เด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะเขา เด็กบางคนเรียนรู้ว่าถ้าไม่เห็นด้วยให้ทะเลาะกัน ยิ่งเสียงดังยิ่งชนะ ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายที่ยอมให้ก็จะดูไม่มีอำนาจ ไม่น่าเชื่อถือในสายตาลูก
ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงกับปัญหานี้กันดี
ก่อนอื่นต้องเลิกบอกว่าอีกฝ่ายต้องทำหรือต้องไม่ทำอะไรก่อนค่ะ ยิ่งสั่งยิ่งต่อต้าน ไม่มีใครชอบถูกควบคุม ไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ
การจะทำอะไรให้ดีได้ ต้องมีเป้าหมาย เราทุกคนเป็นทีมเดียวกัน ทีมที่รักและหวังดีกับลูก และอยากให้ลูกเติบโตอย่างสมบูรณ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราจะทำงานร่วมกัน ด้วยเป้าหมายเดียวกัน ว่าแล้วก็มาตั้งเป้าหมายร่วมกันดีกว่าค่ะ
เริ่มจากคุยกับสามีหรือภรรยาของเราก่อน อย่าเพิ่งไปคุยกับครอบครัวใหญ่นะคะ ตอนเริ่มคุย ให้เอาเรื่องที่เรามั่นใจว่าอีกฝ่ายต้องเห็นตรงกับเราแน่ๆ มาคุยก่อนค่ะ เช่น เรื่องการศึกษา
เวลาวางเป้าหมายร่วมกัน เริ่มจากวางเป้าหมายระยะยาวก่อนค่ะ มองให้ยาวๆ มองให้ถึงอนาคตของเขา อยากให้เขามีนิสัยแบบไหน เป็นคนแบบไหน เมื่อได้เป้าหมายระยะยาวแล้ว ให้แตกออกมาเป็นเป้าหมายระยะสั้นค่ะ แล้วค่อยมาแตกลงว่า ต้องทำอะไรและอย่างไร ถึงจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้
เช่น เราอยากให้ลูกจบการศึกษาสูงๆ เป็นคนรักการเรียนรู้ เราอาจแตกเป็นเป้าหมายระยะสั้นว่า ลูกต้องอ่านหนังสือเดือนล่ะเล่ม แล้วค่อยมาลงรายละเอียดว่าเราควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ลูกสามารถอ่านหนังสือได้เดือนล่ะเล่ม
การวางเป้าหมายร่วมกันจะทำให้เราขัดแย้งกันน้อยลงเมื่อเรานำไปปฏิบัติค่ะ
ทีนี้เวลานำข้อตกลงไปใช้ แน่นอนว่าหลายครั้งมันไม่ง่ายอย่างที่คิด บางคนใจอ่อน บางคนลืม บางคนโกรธจนสติหลุด เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นอย่าต่อว่าอีกฝ่ายต่อหน้าลูกนะคะ
ถ้าสามีกำลังโกรธลูก ให้เสนอความช่วยเหลือ "พ่อ ไปพักเถอะ เดี๋ยวแม่ดูลูกให้"
ถ้าสามีลืม จะให้ขนมลูกตามที่อ้อนขอ ให้พูดเตือน "ตอนนี้ 5 โมงเย็นแล้วพ่อ เดี๋ยวก็ถึงเวลากินข้าวแล้ว" (ทำแบบนี้สามีจะไม่รู้สึกถูกหักหน้าค่ะ ดีกว่าไปสั่งลูกหรือพ่อว่า "ไม่เอา ไม่ให้กิน" "ตามใจลูกอีกแล้วนะ" "พ่อลืมที่เราตกลงกันแล้วใช่มั้ย")
แต่ถ้าอีกฝ่ายตัดสินใจห้ามลูกไปแล้ว อะไรยอมได้ก็ยอมนะคะ เพราะเราไม่ต้องการให้อีกฝ่ายดูไม่มีอำนาจในสายตาลูกค่ะ แล้วค่อยกลับมาคุยกันใหม่ทีหลังก็ได้
ตอนเอาสิ่งที่อีกฝ่ายควรปรับปรุงมาคุย ใช้ศิลปะการพูดนิดนึงจะช่วยให้ตกลงกันง่ายขึ้นค่ะ ชื่นชมก่อน แล้วค่อยขึ้นประโยคที่คำว่าฉัน+รู้สึก อย่าไปสั่งว่าควรทำอะไร อีกครั้งหนึ่ง ไม่มีใครชอบถูกสั่งค่ะ
เช่น แม่ดีใจนะที่เห็นพ่อพยายามสอนการบ้านลูก และแม่รู้ว่ามันน่าหงุดหงิดเวลาลูกทำไม่ได้ซักที แต่แม่ไม่ชอบที่พ่อตวาดลูกเลย แม่ไม่อยากให้ลูกกลัวพ่อ พ่อคิดว่าเราควรจะทำไงกันดี
อย่าลืมว่า การตกลงร่วมกันเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราไม่ขัดแย้งกันค่ะ
สำหรับบ้านที่มีญาติผู้ใหญ่อยู่ร่วมด้วย ให้ยึดหลัก ญาติใครให้คนนั้นไปจัดการ สะใภ้จะไม่เถียงแม่ย่า ลูกเขยจะไม่ต่อว่าแม่ยาย การคุยกันก็ใช้หลักการเดียวกันกับการคุยกับสามีหรือภรรยาค่ะ
ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ บ้านที่กลมเกลียวกันจะส่งผลดีอย่างมากต่อลูกในทุกๆ ด้านค่ะ
#รักลูกให้กอด
Tag: ขัดแย้งเรื่องลูก ความขัดแย้งในบ้าน เป้าหมายร่วมกัน การเลี้ยงลูกเชิงบวก
และอย่างที่ทุกคนรู้กัน เด็กๆ ต้องการความสม่ำเสมอในกฎระเบียบต่างๆ ถ้าในครอบครัวมีแนวทางไม่ตรงกันก็มักจะเกิดปัญหาว่า คนนี้ไม่ให้งั้นหนูวิ่งไปขออีกคนก็ได้ สุดท้ายแล้วขอบเขตก็ไม่เป็นขอบเขต เด็กโตมาแบบไม่มีขอบเขต มีปัญหาเอาแต่ใจ หรือเกิดสถานการณ์แม่ใจร้ายพ่อใจดีในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่เข้มงวดกว่าไม่ดีนัก
พอปัญหาเรื้อรังหมักหมมไว้นานเข้า สุดท้ายก็จะมีคนเริ่มทนไม่ไหว เริ่มขัดแย้งกับอีกฝ่ายต่อหน้าลูก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ เลยค่ะ เด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะเขา เด็กบางคนเรียนรู้ว่าถ้าไม่เห็นด้วยให้ทะเลาะกัน ยิ่งเสียงดังยิ่งชนะ ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายที่ยอมให้ก็จะดูไม่มีอำนาจ ไม่น่าเชื่อถือในสายตาลูก
ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงกับปัญหานี้กันดี
ก่อนอื่นต้องเลิกบอกว่าอีกฝ่ายต้องทำหรือต้องไม่ทำอะไรก่อนค่ะ ยิ่งสั่งยิ่งต่อต้าน ไม่มีใครชอบถูกควบคุม ไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ
การจะทำอะไรให้ดีได้ ต้องมีเป้าหมาย เราทุกคนเป็นทีมเดียวกัน ทีมที่รักและหวังดีกับลูก และอยากให้ลูกเติบโตอย่างสมบูรณ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราจะทำงานร่วมกัน ด้วยเป้าหมายเดียวกัน ว่าแล้วก็มาตั้งเป้าหมายร่วมกันดีกว่าค่ะ
เริ่มจากคุยกับสามีหรือภรรยาของเราก่อน อย่าเพิ่งไปคุยกับครอบครัวใหญ่นะคะ ตอนเริ่มคุย ให้เอาเรื่องที่เรามั่นใจว่าอีกฝ่ายต้องเห็นตรงกับเราแน่ๆ มาคุยก่อนค่ะ เช่น เรื่องการศึกษา
เวลาวางเป้าหมายร่วมกัน เริ่มจากวางเป้าหมายระยะยาวก่อนค่ะ มองให้ยาวๆ มองให้ถึงอนาคตของเขา อยากให้เขามีนิสัยแบบไหน เป็นคนแบบไหน เมื่อได้เป้าหมายระยะยาวแล้ว ให้แตกออกมาเป็นเป้าหมายระยะสั้นค่ะ แล้วค่อยมาแตกลงว่า ต้องทำอะไรและอย่างไร ถึงจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้
เช่น เราอยากให้ลูกจบการศึกษาสูงๆ เป็นคนรักการเรียนรู้ เราอาจแตกเป็นเป้าหมายระยะสั้นว่า ลูกต้องอ่านหนังสือเดือนล่ะเล่ม แล้วค่อยมาลงรายละเอียดว่าเราควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ลูกสามารถอ่านหนังสือได้เดือนล่ะเล่ม
การวางเป้าหมายร่วมกันจะทำให้เราขัดแย้งกันน้อยลงเมื่อเรานำไปปฏิบัติค่ะ
รูปจาก https://www.flickr.com/photos/elsie/13250459375 by Les Chatfield
ทีนี้เวลานำข้อตกลงไปใช้ แน่นอนว่าหลายครั้งมันไม่ง่ายอย่างที่คิด บางคนใจอ่อน บางคนลืม บางคนโกรธจนสติหลุด เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นอย่าต่อว่าอีกฝ่ายต่อหน้าลูกนะคะ
ถ้าสามีกำลังโกรธลูก ให้เสนอความช่วยเหลือ "พ่อ ไปพักเถอะ เดี๋ยวแม่ดูลูกให้"
ถ้าสามีลืม จะให้ขนมลูกตามที่อ้อนขอ ให้พูดเตือน "ตอนนี้ 5 โมงเย็นแล้วพ่อ เดี๋ยวก็ถึงเวลากินข้าวแล้ว" (ทำแบบนี้สามีจะไม่รู้สึกถูกหักหน้าค่ะ ดีกว่าไปสั่งลูกหรือพ่อว่า "ไม่เอา ไม่ให้กิน" "ตามใจลูกอีกแล้วนะ" "พ่อลืมที่เราตกลงกันแล้วใช่มั้ย")
แต่ถ้าอีกฝ่ายตัดสินใจห้ามลูกไปแล้ว อะไรยอมได้ก็ยอมนะคะ เพราะเราไม่ต้องการให้อีกฝ่ายดูไม่มีอำนาจในสายตาลูกค่ะ แล้วค่อยกลับมาคุยกันใหม่ทีหลังก็ได้
ตอนเอาสิ่งที่อีกฝ่ายควรปรับปรุงมาคุย ใช้ศิลปะการพูดนิดนึงจะช่วยให้ตกลงกันง่ายขึ้นค่ะ ชื่นชมก่อน แล้วค่อยขึ้นประโยคที่คำว่าฉัน+รู้สึก อย่าไปสั่งว่าควรทำอะไร อีกครั้งหนึ่ง ไม่มีใครชอบถูกสั่งค่ะ
เช่น แม่ดีใจนะที่เห็นพ่อพยายามสอนการบ้านลูก และแม่รู้ว่ามันน่าหงุดหงิดเวลาลูกทำไม่ได้ซักที แต่แม่ไม่ชอบที่พ่อตวาดลูกเลย แม่ไม่อยากให้ลูกกลัวพ่อ พ่อคิดว่าเราควรจะทำไงกันดี
อย่าลืมว่า การตกลงร่วมกันเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราไม่ขัดแย้งกันค่ะ
สำหรับบ้านที่มีญาติผู้ใหญ่อยู่ร่วมด้วย ให้ยึดหลัก ญาติใครให้คนนั้นไปจัดการ สะใภ้จะไม่เถียงแม่ย่า ลูกเขยจะไม่ต่อว่าแม่ยาย การคุยกันก็ใช้หลักการเดียวกันกับการคุยกับสามีหรือภรรยาค่ะ
ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ บ้านที่กลมเกลียวกันจะส่งผลดีอย่างมากต่อลูกในทุกๆ ด้านค่ะ
#รักลูกให้กอด
Tag: ขัดแย้งเรื่องลูก ความขัดแย้งในบ้าน เป้าหมายร่วมกัน การเลี้ยงลูกเชิงบวก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น