บทความ

สร้าง EQ ให้ลูก (Raising EQ Child)

รูปภาพ
การเลี้ยงลูกเชิงบวก  กับ EQ เป็นสิ่งที่เสริมกันค่ะ ถ้าเด็กมี EQ ดี การเลี้ยงลูกเชิงบวกก็จะเป็นไปได้โดยง่ายและได้ผลดี การเลี้ยงลูกเชิงบวกเองก็ช่วยเสริมให้เด็กมี EQ ที่ดีด้วย เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดตกอยู่ที่ลูกและครอบครัวของเรา มารู้จัก EQ และการสร้าง EQ ให้กับลูกกันค่ะ EQ คืออะไร ทำไมมันถึงสำคัญนัก? ทุกวันนี้ ใครๆ ก็พูดถึง EQ แต่ก็ไม่เคยมีใครบอกเราว่าที่จริงแล้ว EQ คืออะไร และมันสำคัญอย่างไร บ่อยครั้งที่การเลี้ยงลูกของเราก็เลยยังมุ่งไปที่การพัฒนาความฉลาดทางการเรียนเป็นหลัก รินจะพาไปทำความรู้จักกับ EQ และความสำคัญของมัน ก่อนจะพาเข้าสู่เรื่องการพัฒนา EQ ให้กับลูกค่ะ Credit รูป Vernon Area Public Library www.flickr.com รินเคยคิดว่า EQ น่ะ หมายถึงการเก็บอารมณ์ไว้ คนที่ EQ ดี หมายถึงคนที่อดทน ไม่วีน ไม่อาละวาด รู้สึกอะไรก็เก็บมันไว้ ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่แบบนั้นเลยค่ะ ที่จริงแล้ว EQ หมายถึง ความสามารถที่จะระบุ ใช้ เข้าใจ และจัดการอารมณ์ในเชิงบวก เพื่อปลดปล่อยความเครียด สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาชนะอุปสรรค และจัดการความขัดแย้งได้ ถ้าพูดให้...

คิดก่อนสอน (Respond not react)

รูปภาพ
รินมีคาถาวิเศษที่จะช่วยให้เรา สอนลูก ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปะทะกับลูกน้อยลง และสร้างบาดแผลให้กับลูกน้อยลงมาฝากค่ะ คาถานั้นประกอบไปด้วยคำถาม 3 ข้อด้วยกัน เป็นคำถามที่เราควรหยุดคิด และถามตัวเองทุกครั้งเมื่อเราเจอเหตุการณ์ที่เราคิดว่า ลูกทำไม่ถูกละ ต้องสอนกันหน่อยละ คำถามนั้นคือ ทำไม อะไร และอย่างไร 1) ทำไมลูกถึงทำแบบนี้ 2) เราอยากจะสอนอะไรลูก 3) เราจะสอนลูกอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด คำถามข้อแรก เราถามตัวเราเองเพื่อที่เราจะได้เข้าใจว่าปัญหาคืออะไร เราถามด้วยความอยากรู้ อยากเข้าใจ อยากมองเห็นปัญหา จะได้แก้ไขได้ ไม่ได้ถามเพื่อตีตรา คำตอบลักษณะประชด ต่อว่า เช่น "ก็ลูกเป็นเด็กเหลือขอ" "ก็ตามใจกันจนเสียคน" ไม่ช่วยอะไรนะคะ คำตอบต่อคำถามนี้สำคัญที่สุด เพราะเราจะสอนและแก้ไขในสิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาค่ะ (สำหรับเด็กโต เราสามารถถามลูกได้นะคะ ว่าเพราะอะไร ลูกถึงทำแบบนั้น แต่ต้องถามด้วยนำเสียงและท่าทีอยากเข้าใจและอยากช่วยเหลือ ไม่ใช่ถามเพื่อเอาเรื่องหรือต่อว่านะคะ) คำถามข้อที่สอง เราถามตัวเอง เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะมองไปว่าเราต้องการสอนอะไรลูก เราต้องการให้ล...

ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา (Peace starts with you)

รูปภาพ
ปัญหาใหญ่ของหลายคนที่อยากจะ เลี้ยงลูกเชิงบวก คือ การจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง เราอยากจะอ่อนโยนกับลูก แต่พอถึงเวลาแล้วเราคุมตัวเองไม่อยู่ เราหลุด แล้วเราก็มานั่งเสียใจ ว่าเราไม่น่าตะคอกลูกเลย เราตีลูกทำไม เราเป็นแม่ที่แย่ .. มันทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง แล้ววงจรนี้ก็ยิ่งทำลายความเชื่อมั่นของเราว่าเราสามารถเป็นพ่อแม่ที่ดีและอ่อนโยนได้ สาเหตุหลักที่เราหลุดกับลูกอยู่ที่ตัวเรานี่แหละค่ะ ไมใช่ที่พฤติกรรมของลูก เพราะเราถือสิทธิ์ขาดในการเลือกว่าเราจะตอบสนองกับลูกอย่างไร แต่มันไม่ง่ายเลย เพราะเมื่อเรามีลูกแล้ว ชีวิตเราก็เปลี่ยนไปเกินการควบคุมของเรา จากที่ตารางชีวิตเราเคยสบายๆ ทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำ อยากแวะไหน กินอะไร กลับบ้านกี่โมง ตื่นกี่โมง แต่พอมีลูกแล้ว ชั่วโมงการนอนกับเวลาตื่นของเรานี่เรายังไม่มีสิทธิ์กำหนดเลย.. เด็กๆ มักเป็นแบบนั้น ลูกจะไม่ปรับตัวเข้ากับชีวิตเรา หรืออย่างน้อย ลูกก็ต้องใช้เวลาปรับตัว มันไม่ง่ายในช่วงปีแรกๆ ของลูกที่จะใช้ชีวิตได้เหมือนผู้ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญทุกคนแนะนำให้เราพัก เมื่อเราได้รับการดูแล เมื่อเราอารมณ์ดี เราจะจัดการทุกอย่างได้ดี แต่สำหรับเด็กเลี้ยงยากบางคน เรื...

การเล่นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ (Importance of Play)

รูปภาพ
ในการ เลี้ยงลูกเชิงบวก รากฐานที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก และวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการเล่นด้วยกัน แต่น่าเสียดายที่เด็กๆ หลายคนไม่มีโอกาสได้เล่นอย่างเต็มที่   ในโลกที่แข่งขัน เราอาจมองว่าการเล่นเป็นเรื่องเสียเวลา ลูกต้องฝึกทำโจทย์ ต้องเรียนพิเศษ เพื่อไปสอบแข่งกับคนอื่น ..   รินเห็นด้วยว่าเราต้องพัฒนาสมองลูก แต่การสร้างความสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ดังนั้น รินขอแนะนำการเล่นที่จะตอบโจทย์เราทั้งสองอย่างค่ะ 1) การเล่นแบบใช้ร่างกาย เล่นโลดโผน การเล่นแบบนี้จะทำให้สมองส่วนบนพัฒนา ทำให้รับมือกับอารมณ์และความเครียดได้ดี การที่ลูกได้สนุกตื่นเต้นและหัวเราะเต็มที่จะทำให้สารเคมีที่ดีต่อสมองหลั่งออกมา มีการเก็บข้อมูลจากโรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่นพบว่า โรงเรียนที่เล่นแบบนี้ก่อนเข้าเรียนจะทำให้เด็กๆ มีสมาธิสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ โดยจะสามารถนั่งนิ่งๆ ตั้งใจฟังคุณครูในห้องเรียนได้ นอกจากนั้น การเล่นแบบนี้ยังเป็นการเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส่งผลให้ลูกเติบโตไปเป็นคนมีบุคลิกดี ดูสง่าผ่าเผย กล้ามเนื้อหลังที่แข็งแร...

ไม่ตีก็ดีได้ ด้วยการชี้แนะด้วยความรัก (Loving-guidance)

รูปภาพ
ขอขอบคุณทุกๆ คนจากใจจริงๆ ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ค่ะ ขอบคุณทุกคนแทนเด็กๆ สำหรับความสนใจที่จะ เลี้ยงลูก แบบไม่ใช้ความรุนแรง ขอบคุณที่กรุณาสนใจทางเลือกที่จะไม่ลงโทษ ขอบคุณในความตั้งใจที่จะไม่สร้างรอยแผลเป็นไว้ในใจคนที่เรารักที่สุดค่ะ เวลาของทุกคนมีค่า เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า  (รินขอใช้คำว่าตีแทนการลงโทษทุกชนิด ไม่ว่าจะดุด่า ตะคอก ขู่ ทำให้อาย เพื่อความง่ายในการเขียนนะคะ) ไม่ตีแล้วจะสอนได้อย่างไร รินจะบอกให้ว่ารินทำอะไรค่ะ 1) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูก รินขอเน้นข้อนี้มากๆ ถ้าใครสอบผ่านข้อนี้ คุณจะรู้สึกได้เลยว่า ทำไมลูกน่ารักอย่างนี้ ทำไมเราไม่เหนื่อยใจในการเลี้ยงลูกเลย เพราะลูกจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เราพอใจ ลูกจะให้ความร่วมมืออย่างมากในทุกๆ เรื่อง เราจะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? สิ่งนี้จะเริ่มฟักตัวตั้งแต่ลูกเกิดมาใหม่ๆ ค่ะ เมื่อลูกมีความต้องการ และเราพยายามตอบสนอง เมื่อลูกเกิดมา เราเป็นเหมือนโลกทั้งใบของเขา เขาไม่สามารถช่วยอะไรตัวเองได้เลย เขาหิว เขาหนาว เขาเหนื่อย เขาง่วง เขาเปียก เขาเจ็บ การพยายามตอบสนองต่อความต้องการของลูก จะทำให้ลูกร...

ทีวี..ไม่ใช่พี่เลี้ยง (Effect of TV)

รูปภาพ
หลายๆ คนคงรู้ดีกันอยู่แล้ว ว่าเด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูทีวีเลย ตามคำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์ เพราะเด็กจะนั่งจุ้มปุ๊กอยู่หน้าทีวี ซึ่งมีภาพแว้บไปแว้บมาตลอดเวลา ไม่มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ส่งผลเสียต่อสายตา สมาธิ และขัดขวางพัฒนาการ แล้วบ้านที่คนแก่ติดทีวีล่ะ ?  เราต้องเข้าใจก่อนว่ายายไม่ได้มีหน้าที่เลี้ยงหลาน เราขอร้องให้ยายมาช่วย และทีวีมันเป็นของคู่ยุคกับเขา  ส่วนตัวรินก็ให้ยายช่วยดูลูกให้ตอนลูกยังเล็กค่ะ เราก็อธิบายให้ฟังว่าทีวีจะส่งผลต่อลูกอย่างไรเพื่อสร้างความเข้าใจให้ยายก่อน   แต่ยายอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีทีวีค่ะ รินกับสามีคิดกันว่ายายมาช่วยดูให้ดีกว่าส่งเนิสทั้งเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย เราก็เลยตกลงกันว่า จะยอมให้ยายเปิดทีวีกันนะ ในช่วงหลานยังคลานไม่ได้ก็จะขอร้องให้หันหลานไปทางอื่น สายตาจะได้ไม่เสีย และรินใช้วิธีวางทีวีไว้แค่ในห้องนอนยาย ก็จะสามารถจำกัดเวลาดูไปได้พอสมควร เพราะยายไม่สะดวกในการเลี้ยงหลานในห้อง พอหลานคลานได้ หรือเดินเตาะแตะ ยายก็ต้องวิ่งตามหลานทั้งวันแล้วค่ะ วัยแบเบาะและเตาะแตะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ อดทนไว้เดี๋ยวมันก็ผ่านไป พอถึงวัยที่ดูทีวีได้นี่แหละ ที...

เด็กเป็นผ้าขาว .. แต่เราทำผิดตรงไหน ทำไมลูกเราไม่เหมือนคนอื่น?

รูปภาพ
เคยสงสัยมั้ยคะ ทำไมเราทำตามตำราที่อ่านหรือตามคำแนะนำของคนอื่น แล้วดันได้ผลไม่เหมือนกัน? รินคิดว่า เพราะถึงเด็กแต่ล่ะคนจะเป็นผ้าขาวเหมือนกันแต่ก็มีเนื้อผ้า (พื้นนิสัย) ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนก็เป็นเด็กสบายๆ ไม่คิดมาก เด็กบางคนก็รับมือกับความเครียด กับความเปลี่ยนแปลงได้ดี ขณะที่เด็กบางคนก็รู้สึกไวต่อสิ่งเร้ารอบข้างอย่างมาก จนกลายเป็นเด็กที่เครียดง่าย ขี้กังวล ขี้ตกใจ ขี้น้อยใจ นอกจากมีพื้นนิสัยของเด็กเป็นตัวแปรแล้ว บุคลิกของพ่อแม่ก็มีส่วนเช่นกันค่ะ บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของเรา เป็นตัวกำหนดความรู้สึกและการแสดงออกของเรา ซึ่ง Adlerian Personality Priorities แบ่งไว้ 4 แบบดังนี้ค่ะ 1) เป็นเลิศ (Superiority) 2) ชอบควบคุม (Controlling) 3) เป็นที่ชื่นชอบ (Pleasing) 4) เอาอกเอาใจ (Comforting) ลองนึกภาพบุคลิกเด่นของเราออกมานะคะ บางคนเก่งทุกเรื่อง ทำอะไรต้องออกมาดีเลิศทุกอย่าง (Superiority) บางคนชอบให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม ต้องเป็นไปตามแผน ต้องคาดเดาได้ (Controlling) บางคนชอบทำให้คนอื่นมีความสุข ไม่ชอบปะทะ (Pleasing) บางคนชอบเอาอกเอาใจ อะไรก็ได้ที่ทำให้เธอพอใจ (Comforting) ...

บทเรียนตามธรรมชาติ บทเรียนทรงคุณค่าที่ได้มาฟรีๆ (Natural Consequences)

รูปภาพ
ถ้าพูดถึงการสอนลูกให้รู้ผิดถูก ให้รู้ผลจากการกระทำ หลายคนมักนึกถึงการลงโทษหรือการตัดสิทธิพิเศษบางอย่าง เช่น ถ้าไม่กินข้าวจะอดออกไปเล่น ถ้าไม่ทำการบ้านแม่จะดุจะตี ซึ่งการวางบทลงโทษแบบนั้นมักมีราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อสอนลูก ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับลูกที่แย่ลง ความเครียดที่เราต้องเจอเพื่อสรรหาบทลงโทษที่คิดว่าเหมาะสมกับลูกเพื่อสอนลูก หรือจะเป็นความเหนื่อยที่เราต้องทนบังคับลูกให้ทำ วันนี้รินขอแนะนำบทเรียนตามธรรมชาติ ที่ถ้าเราใช้เครื่องมือชนิดนี้เป็น ลูกเราจะได้เรียนรู้โดยที่เราไม่ต้องจ่ายอะไรเลยค่ะ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ทุกอย่างในโลกนี้เป็นเหตุเป็นผลของมันอยู่แล้ว เราต้องกิน ไม่กินเราก็หิว เราต้องทำการบ้าน ไม่ทำเราก็โดนครูลงโทษ สิ่งเดียวที่เราต้องทำคือ อย่าเข้าไปปกป้องลูกจากบทเรียนตามธรรมชาตินั้นๆ ถ้ามันไม่รุนแรงจนเกินไป ลูกไม่รักษาของเล่นจนมันพังก็อย่ารีบซื้อของเล่นให้ใหม่ ลูกไม่กินข้าวจนหิวก็อย่าสรรหาขนมมาให้กินรองท้อง วิธีการใช้ 1) คิดก่อนว่า อะไรคือผลกระทบตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่กินก็จะหิว ถ้าไม่เก็บของเล่น ของเล่นก็จะหายแล้วอดเล่น ถ้าไม่ทำการบ้าน...

งานบ้านสร้างชาติ

รูปภาพ
เคล็ดลับดีๆ ที่จะสร้างลูกให้มีความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว มีความรับผิดชอบ สร้างวินัย ได้หัดวางแผน ได้ฝึกสมอง ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสิ่งที่มีอยู่ในทุกบ้าน .. "งานบ้าน" ค่ะ ไม่เชื่อใช่มั้ยคะ มาดูกันว่างานบ้านมีดีอะไร ทำไมถึงได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ 1) งานบ้านเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง ได้เห็นผลงานของตัวเอง เมื่อเด็กทำอะไรสำเร็จด้วยตัวเอง เด็กก็จะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง มีความมั่นใจ 2) งานบ้านเป็นงานของครอบครัวที่ทุกคนต้องช่วยกัน การช่วยกันดูแลบ้าน ทำให้เด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว 3) งานบ้านเปิดโอกาสให้ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก 4) งานบ้านที่ดีต้องมีการวางแผน จะทำกับข้าวก็ต้องวางแผน จะกวาดบ้านก็ต้องคิดว่าจะกวาดตรงไหนก่อน เดินตามไม้กวาด หรือเดินนำไม้กวาดดี? ยิ่งงานบ้านเยอะ การวางแผนก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นค่ะ 5) งานบ้านเป็นสิ่งที่เหนื่อย น่าเบื่อ แต่ต้องทำ และทำทุกวัน ทำให้เด็กมีความอดทน ความรับผิดชอบ และวินัยในตนเอง เห็นมั้ยคะ ว่างานบ้านมอบทักษะการใช้ชีวิตดีๆ ให้กับลูกมากมายแบบที่เราคาดไม่ถึงเลย เริ่มอยากให้ลูกได้ช่วย...

สิ่งจำเป็นพื้นฐาน 4 อย่าง (Maslow's hierarchy of needs - 4 basic needs)

รูปภาพ
บทความนี้อ้างอิงจากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และส่วนหนึ่งของหนังสือชื่อ A Parent's Guide to Gifted Children และ If I Have to Tell You One More Time นะคะ รินคิดว่าพวกเราส่วนใหญ่เคยได้เรียนหรือได้ยินทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มาแล้วทั้งนั้น แต่ลืม (รินก็เช่นกัน) จนวันนึงที่รินมีลูก เจ้าทฤษฎีนี้มันกลับมาวนเวียนอีกครั้ง และทำให้รินได้เข้าใจลูกมาขึ้น รินจะเล่าให้ฟังว่ามันเกี่ยวกับลูกเรายังไง แล้วเราจะนำมันไปใช้ยังไง ก่อนอื่น เพื่อความเข้าใจตรงกัน ความต้องการในที่นี้ มาจากภาษาอังกฤษว่า need นั่นคือ มันไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย มันเป็นสิ่งจำเป็น ขาดไม่ได้ เหมือนอากาศ เหมือนอาหาร เราต้องผ่านแต่ล่ะลำดับไปเพื่อสู่ลำดับถัดไป ทฤษฎีของมาสโลว์ว่าไว้ว่า มนุษย์เรามีลำดับขั้นความต้องการดังนี้ค่ะ  ลำดับที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) ลำดับที่ 3 ความต้องการความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Belonging and love needs) ลำดับที่ 4 ความต้องการการยอมรับ (Needs for esteem) ลำดับถัดๆ ไปจะเป็นเรื่องการเรีย...

ลูกดื้อมาก ทำอย่างไรดี?

รูปภาพ
"ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟังแบบนี้ เหมือนเราเป็นแม่ที่ไม่อบรมลูก เลี้ยงลูกไม่เป็น .. ถ้าใครกำลังมีความทุกข์กับการที่ลูกไม่เชื่อฟังอยู่ หันมาฟังทางนี้ค่ะ  การที่ลูกไม่เชื่อฟัง เป็นเรื่อง "ปกติ" ของพัฒนาการเด็ก และเป็น"เรื่องที่ดี" ค่ะ เพราะการที่เด็กดื้อ แปลว่าเขาตระหนักว่าความคิดเห็นของเขาเป็นสิ่งสำคัญ การที่เขากล้าเถียง นั่นแปลว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากพอที่เขาจะกล้าแสดงความคิดเห็นของเขาออกมา เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองจะมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่าด้วยค่ะ "ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟั...

ทำอย่างไรดี เมื่อผู้ใหญ่ในบ้านเห็นไม่ตรงกัน

รูปภาพ
รินคิดว่าความขัดแย้งกันในเรื่องของแนวทางการเลี้ยงดูเด็กและรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เป็นปัญหาใหญ่ของทุกๆ ครอบครัวเมื่อมีเจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นสมาชิกในบ้าน เพราะถึงแม้ทุกคนจะรักและหวังดี แต่ทุกคนก็มีความคิดเป็นของตัวเอง เราก็เลยมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยๆ และอย่างที่ทุกคนรู้กัน เด็กๆ ต้องการความสม่ำเสมอในกฎระเบียบต่างๆ ถ้าในครอบครัวมีแนวทางไม่ตรงกันก็มักจะเกิดปัญหาว่า คนนี้ไม่ให้งั้นหนูวิ่งไปขออีกคนก็ได้ สุดท้ายแล้วขอบเขตก็ไม่เป็นขอบเขต เด็กโตมาแบบไม่มีขอบเขต มีปัญหาเอาแต่ใจ หรือเกิดสถานการณ์แม่ใจร้ายพ่อใจดีในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่เข้มงวดกว่าไม่ดีนัก พอปัญหาเรื้อรังหมักหมมไว้นานเข้า สุดท้ายก็จะมีคนเริ่มทนไม่ไหว เริ่มขัดแย้งกับอีกฝ่ายต่อหน้าลูก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ เลยค่ะ เด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะเขา เด็กบางคนเรียนรู้ว่าถ้าไม่เห็นด้วยให้ทะเลาะกัน ยิ่งเสียงดังยิ่งชนะ ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายที่ยอมให้ก็จะดูไม่มีอำนาจ ไม่น่าเชื่อถือในสายตาลูก ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงกับปัญหานี้กันดี ก่อนอื่นต้องเลิกบอกว่าอีกฝ่ายต้องทำหรือต้องไม่ทำอะไรก่อนค่ะ ยิ่งสั่งยิ่งต่อต้าน...