เด็กเป็นผ้าขาว .. แต่เราทำผิดตรงไหน ทำไมลูกเราไม่เหมือนคนอื่น?
เคยสงสัยมั้ยคะ ทำไมเราทำตามตำราที่อ่านหรือตามคำแนะนำของคนอื่น แล้วดันได้ผลไม่เหมือนกัน?
รินคิดว่า เพราะถึงเด็กแต่ล่ะคนจะเป็นผ้าขาวเหมือนกันแต่ก็มีเนื้อผ้า (พื้นนิสัย) ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนก็เป็นเด็กสบายๆ ไม่คิดมาก เด็กบางคนก็รับมือกับความเครียด กับความเปลี่ยนแปลงได้ดี ขณะที่เด็กบางคนก็รู้สึกไวต่อสิ่งเร้ารอบข้างอย่างมาก จนกลายเป็นเด็กที่เครียดง่าย ขี้กังวล ขี้ตกใจ ขี้น้อยใจ
นอกจากมีพื้นนิสัยของเด็กเป็นตัวแปรแล้ว บุคลิกของพ่อแม่ก็มีส่วนเช่นกันค่ะ บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของเรา เป็นตัวกำหนดความรู้สึกและการแสดงออกของเรา ซึ่ง Adlerian Personality Priorities แบ่งไว้ 4 แบบดังนี้ค่ะ
1) เป็นเลิศ (Superiority)
2) ชอบควบคุม (Controlling)
3) เป็นที่ชื่นชอบ (Pleasing)
4) เอาอกเอาใจ (Comforting)
ลองนึกภาพบุคลิกเด่นของเราออกมานะคะ บางคนเก่งทุกเรื่อง ทำอะไรต้องออกมาดีเลิศทุกอย่าง (Superiority) บางคนชอบให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม ต้องเป็นไปตามแผน ต้องคาดเดาได้ (Controlling) บางคนชอบทำให้คนอื่นมีความสุข ไม่ชอบปะทะ (Pleasing) บางคนชอบเอาอกเอาใจ อะไรก็ได้ที่ทำให้เธอพอใจ (Comforting)
รินเป็นประเภทต้องดีเลิศและชอบควบคุม สามีรินเป็นประเภทชอบทำให้มีความสุขและชอบเอาใจ
นึกภาพการสอนลูกในบ้านออกมั้ยคะ รินไม่เข้าใจว่าทำไมเรื่องแค่นี้ลูกทำไม่ได้ซะที (และก็จะหงุดหงิดจนเผลอเสียงดังขึ้น หน้าดุขึ้น) เวลาที่สิ่งต่างๆ รวมทั้งลูกไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รินก็จะรู้สึกเครียด ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเมื่อก่อนลูกจึงไม่ชอบให้สอน ก็กับแม่ที่มือหนัก ชอบเทสีเยอะๆ แถมถ้าไม่สวยก็หงุดหงิด ใครจะอยากเรียนด้วยล่ะคะ
ขณะที่สามีนี่ตัวตามใจลูกเลยค่ะ ไม่ชอบปะทะ ยอมลูกตลอด ความสม่ำเสมอหรือวินัยไม่ใช่เรื่องใหญ่ ความสุขของทุกคนในบ้านเป็นเรื่องสำคัญกว่า ปล่อยลูกไปกับพ่อทีไรนี่ได้เรื่องตลอดค่ะ
พอมองเห็นปัญหาที่เกิดจากบุคลิกของเราแล้วใช่มั้ยคะ บ่อยครั้งที่เราทำแล้วได้ผลไม่เหมือนคนอื่น เพราะเราไม่ได้เป็นเหมือนคนอื่น ความคิดและการแสดงออกของเราไม่เหมือนเค้าค่ะ
แล้วควรปรับอย่างไรดี?
คนที่ทำอะไรเก่งไปทุกเรื่อง ก็ต้องปรับลดความคาดหวังลงมา ปล่อยให้ลูกนำบ้าง ฟังลูก ปรับจังหวะลงมาเป็นจังหวะของเค้า
แล้วควรปรับอย่างไรดี?
คนที่ทำอะไรเก่งไปทุกเรื่อง ก็ต้องปรับลดความคาดหวังลงมา ปล่อยให้ลูกนำบ้าง ฟังลูก ปรับจังหวะลงมาเป็นจังหวะของเค้า
คนที่ชอบควบคุม ก็ต้องกำจัดวิญญาณเจ้านายในตัวเรา ลูกไม่ใช่ลูกน้อง
คนที่ชอบทำให้คนอื่นมีความสุข ก็ต้องหันมาปฏิเสธลูกในเรื่องที่ไม่สมควรบ้าง รักตัวเองบ้าง อย่ามัวรักแต่คนอื่น
คนที่ชอบเอาอกเอาใจ ก็ต้องพยายามยึดกับกฎระเบียบและขอบเขตที่วางไว้ และปล่อยให้ลูกได้เจอบทเรียนตามธรรมชาติบ้าง
การเลี้ยงลูกก็เหมือนการทดลองที่มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้มากมาย และบางทีผลของมันก็ไม่ได้สอดคล้องกับทฤษฎีเสมอไป สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การติดตามผล เราสื่อสารอะไรกับลูกไปบ้าง แล้วตอนนี้ลูกเป็นอย่างไร ลูกเข้าใจที่เราพูดผิดไปรึเปล่า ลูกทำสิ่งที่เราสอนมากเกินพอดีรึเปล่า เราสอนเรื่องการแบ่งปันลูกดันแบ่งจนเบียดเบียนตัวเองรึเปล่า สภาพแวดล้อมในแต่ล่ะวันของลูก ได้เปลี่ยนลูกไปอย่างไรบ้างแล้ว ดังนั้นการใช้เวลาร่วมกับลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่เราจะได้สามารถสังเกตเห็นว่าตอนนี้ลูกเป็นอย่างไร
มันก็เหมือนกับการดูแลต้นไม้ ถ้าเราสังเกตเห็นแต่เนิ่นๆ เราก็ตัดแต่ง ฉีดยา หรือบำรุงได้ง่ายกว่า มีคนกล่าวไว้ว่า ถ้าเราเห็นต้นไม้ในสวนไหนงดงามนั่นก็เพราะคนสวนใส่ใจดูแลต้นไม้ ลูกเราก็ต้องการความใส่ใจจากเราเช่นกันค่ะ
การเลี้ยงลูกก็เหมือนการทดลองที่มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้มากมาย และบางทีผลของมันก็ไม่ได้สอดคล้องกับทฤษฎีเสมอไป สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การติดตามผล เราสื่อสารอะไรกับลูกไปบ้าง แล้วตอนนี้ลูกเป็นอย่างไร ลูกเข้าใจที่เราพูดผิดไปรึเปล่า ลูกทำสิ่งที่เราสอนมากเกินพอดีรึเปล่า เราสอนเรื่องการแบ่งปันลูกดันแบ่งจนเบียดเบียนตัวเองรึเปล่า สภาพแวดล้อมในแต่ล่ะวันของลูก ได้เปลี่ยนลูกไปอย่างไรบ้างแล้ว ดังนั้นการใช้เวลาร่วมกับลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่เราจะได้สามารถสังเกตเห็นว่าตอนนี้ลูกเป็นอย่างไร
มันก็เหมือนกับการดูแลต้นไม้ ถ้าเราสังเกตเห็นแต่เนิ่นๆ เราก็ตัดแต่ง ฉีดยา หรือบำรุงได้ง่ายกว่า มีคนกล่าวไว้ว่า ถ้าเราเห็นต้นไม้ในสวนไหนงดงามนั่นก็เพราะคนสวนใส่ใจดูแลต้นไม้ ลูกเราก็ต้องการความใส่ใจจากเราเช่นกันค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น