ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา (Peace starts with you)
ปัญหาใหญ่ของหลายคนที่อยากจะเลี้ยงลูกเชิงบวก คือ การจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง เราอยากจะอ่อนโยนกับลูก แต่พอถึงเวลาแล้วเราคุมตัวเองไม่อยู่ เราหลุด แล้วเราก็มานั่งเสียใจ ว่าเราไม่น่าตะคอกลูกเลย เราตีลูกทำไม เราเป็นแม่ที่แย่ .. มันทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง แล้ววงจรนี้ก็ยิ่งทำลายความเชื่อมั่นของเราว่าเราสามารถเป็นพ่อแม่ที่ดีและอ่อนโยนได้
สาเหตุหลักที่เราหลุดกับลูกอยู่ที่ตัวเรานี่แหละค่ะ ไมใช่ที่พฤติกรรมของลูก เพราะเราถือสิทธิ์ขาดในการเลือกว่าเราจะตอบสนองกับลูกอย่างไร แต่มันไม่ง่ายเลย เพราะเมื่อเรามีลูกแล้ว ชีวิตเราก็เปลี่ยนไปเกินการควบคุมของเรา จากที่ตารางชีวิตเราเคยสบายๆ ทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำ อยากแวะไหน กินอะไร กลับบ้านกี่โมง ตื่นกี่โมง แต่พอมีลูกแล้ว ชั่วโมงการนอนกับเวลาตื่นของเรานี่เรายังไม่มีสิทธิ์กำหนดเลย.. เด็กๆ มักเป็นแบบนั้น ลูกจะไม่ปรับตัวเข้ากับชีวิตเรา หรืออย่างน้อย ลูกก็ต้องใช้เวลาปรับตัว มันไม่ง่ายในช่วงปีแรกๆ ของลูกที่จะใช้ชีวิตได้เหมือนผู้ใหญ่
ผู้เชี่ยวชาญทุกคนแนะนำให้เราพัก เมื่อเราได้รับการดูแล เมื่อเราอารมณ์ดี เราจะจัดการทุกอย่างได้ดี แต่สำหรับเด็กเลี้ยงยากบางคน เรื่องนี้ดูเหมือนแทบจะเป็นไปไม่ได้ อย่างลูกรินจะ 4 ขวบแล้ว รินยังอดนอนอยู่เลยค่ะ -*- (สำหรับคุณแม่ที่โชคดี ลูกหลับยาว แล้วยังรู้สึกหงุดหงิดง่าย อาจเกิดจากความพยายามดูแลทุกคนมากเกินไปจนลืมดูแลตัวเอง ลองใช้เวลาในช่วงลูกหลับ ปรนนิบัติตัวเองบ้างนะคะ เราก็เป็นสมาชิกคนนึงในบ้าน เราก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับการดูแลจากตัวเราค่ะ :))
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังรู้สึกสิ้นหวัง มีคำแนะนำดีๆ บางส่วนจากหนังสือชื่อ The Newbie's Guide to Positive Parenting เพื่อช่วยให้เราคุมตัวเองอยู่ค่ะ
1) เติมพลังใจให้ตัวเองทุกวัน เช่น การอ่านบทความดีๆ quote ดีๆ ที่ช่วยย้ำเตือนสิ่งที่เรากำลังจะทำ ให้กำลังใจเรา หรือทำให้เราขำ จดสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นทุกๆ วัน แล้วเอามาอ่านในวันรุ่นขึ้น
2) เติมความสัมพันธ์ให้กันทุกวัน เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราพูดหรือทำให้สามีหรือภรรยาเราในแต่ล่ะวัน จะทำให้ความสัมพันธ์เราแนบแน่น พ่อแม่ที่รักกัน และพูดจาชื่นชมขอบคุณกันบ่อยๆ จะทำให้ลูกพฤติกรรมดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนั้น คำพูดชื่นชม ขอบคุณ ให้กำลังใจจากคนที่เรารัก มันทำให้เราหายเหนื่อย มันทำให้เรามีพลังที่จะพยายามให้มากขึ้น
3) แปะคำที่จะคอยเตือนสติเราไว้ทุกๆ ที่ อยากจะเป็นพ่อแม่แบบไหน อยากจะตอบสนองกับลูกอย่างไร แปะไว้ค่ะ มันจะคอยเตือนเราทุกครั้งที่เราเห็นมัน
4) หาสิ่งที่กระตุ้นต่อมปรี๊ดเรา จดมันออกมา แล้วผลิตวัคซีนป้องกันมัน อย่างรินเคยปรี๊ดลูกที่ลูกรินขี้แย รินก็จะปรับมุมมองว่า ลูกเป็นเด็กจิตใจอ่อนโยน ถ้าเราปรี๊ดที่ลูกทำให้เราสายทุกเช้า ลองปรับเวลาตื่นของลูก หรือถ้าเราปรี๊ดลูกที่โมโหร้าย ก้าวร้าว ก็ลองปรับมุมมองใหม่ ลูกไม่ได้ตั้งใจจะเป็นแบบนั้น ไม่มีใครมีความสุขที่ตัวเองต้องอาละวาดออกมาหรอกค่ะ ลูกกำลังต้องการความช่วยเหลือ และเราช่วยได้
5) แปะป้ายเขตปลอดความรุนแรง หรือห้ามตะโกนในบ้าน และถ้าเราจะให้รางวัลตัวเองที่เราทำได้ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ทำตารางหยุดตีไว้ ทุกครั้งที่เราคุมตัวเองอยู่ก็มาติ๊กลง พอสะสมครบก็ไปซื้อของรางวัลให้ตัวเองได้เลยค่ะ :)
6) ฝึกโยคะหรือสมาธิ มีงานวิจัยบอกว่า การทำแบบนี้จะช่วยให้เราสงบขึ้น ใจเย็นขึ้นค่ะ
นอกจากนั้นการพูดความรู้สึกของตัวเองออกไปก็ช่วยได้ เวลารินโกรธลูก รินจะบอกว่ารินโกรธ เวลารินเสียใจ รินก็จะบอกว่ารินเสียใจ พอได้พูดออกไป มันเหมือนความรู้สึกของเราได้รับการปลดปล่อย พอความรู้สึกของเรามันบรรเทาลง ก็จะรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นค่ะ
และสุดท้าย มันไม่ผิดอะไรเลยที่เราจะรู้สึก ไม่มีใครควบคุมความรู้สึกได้ เพียงแต่เราต้องรู้จักที่จะแสดงออกอย่างเหมาะสม เรากำลังแสดงออกให้ลูกเห็นว่า ผู้ใหญ่เขาจัดการกับความรู้สึกกันยังไง ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะกระโดดลงไปร่วมวงในความโกลาหลของลูก ใช้ความเป็นผู้ใหญ่ของเราดึงเขาขึ้นมาจากจุดนั้นสิคะ :)
สาเหตุหลักที่เราหลุดกับลูกอยู่ที่ตัวเรานี่แหละค่ะ ไมใช่ที่พฤติกรรมของลูก เพราะเราถือสิทธิ์ขาดในการเลือกว่าเราจะตอบสนองกับลูกอย่างไร แต่มันไม่ง่ายเลย เพราะเมื่อเรามีลูกแล้ว ชีวิตเราก็เปลี่ยนไปเกินการควบคุมของเรา จากที่ตารางชีวิตเราเคยสบายๆ ทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำ อยากแวะไหน กินอะไร กลับบ้านกี่โมง ตื่นกี่โมง แต่พอมีลูกแล้ว ชั่วโมงการนอนกับเวลาตื่นของเรานี่เรายังไม่มีสิทธิ์กำหนดเลย.. เด็กๆ มักเป็นแบบนั้น ลูกจะไม่ปรับตัวเข้ากับชีวิตเรา หรืออย่างน้อย ลูกก็ต้องใช้เวลาปรับตัว มันไม่ง่ายในช่วงปีแรกๆ ของลูกที่จะใช้ชีวิตได้เหมือนผู้ใหญ่
ผู้เชี่ยวชาญทุกคนแนะนำให้เราพัก เมื่อเราได้รับการดูแล เมื่อเราอารมณ์ดี เราจะจัดการทุกอย่างได้ดี แต่สำหรับเด็กเลี้ยงยากบางคน เรื่องนี้ดูเหมือนแทบจะเป็นไปไม่ได้ อย่างลูกรินจะ 4 ขวบแล้ว รินยังอดนอนอยู่เลยค่ะ -*- (สำหรับคุณแม่ที่โชคดี ลูกหลับยาว แล้วยังรู้สึกหงุดหงิดง่าย อาจเกิดจากความพยายามดูแลทุกคนมากเกินไปจนลืมดูแลตัวเอง ลองใช้เวลาในช่วงลูกหลับ ปรนนิบัติตัวเองบ้างนะคะ เราก็เป็นสมาชิกคนนึงในบ้าน เราก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับการดูแลจากตัวเราค่ะ :))
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังรู้สึกสิ้นหวัง มีคำแนะนำดีๆ บางส่วนจากหนังสือชื่อ The Newbie's Guide to Positive Parenting เพื่อช่วยให้เราคุมตัวเองอยู่ค่ะ
1) เติมพลังใจให้ตัวเองทุกวัน เช่น การอ่านบทความดีๆ quote ดีๆ ที่ช่วยย้ำเตือนสิ่งที่เรากำลังจะทำ ให้กำลังใจเรา หรือทำให้เราขำ จดสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นทุกๆ วัน แล้วเอามาอ่านในวันรุ่นขึ้น
2) เติมความสัมพันธ์ให้กันทุกวัน เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราพูดหรือทำให้สามีหรือภรรยาเราในแต่ล่ะวัน จะทำให้ความสัมพันธ์เราแนบแน่น พ่อแม่ที่รักกัน และพูดจาชื่นชมขอบคุณกันบ่อยๆ จะทำให้ลูกพฤติกรรมดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนั้น คำพูดชื่นชม ขอบคุณ ให้กำลังใจจากคนที่เรารัก มันทำให้เราหายเหนื่อย มันทำให้เรามีพลังที่จะพยายามให้มากขึ้น
3) แปะคำที่จะคอยเตือนสติเราไว้ทุกๆ ที่ อยากจะเป็นพ่อแม่แบบไหน อยากจะตอบสนองกับลูกอย่างไร แปะไว้ค่ะ มันจะคอยเตือนเราทุกครั้งที่เราเห็นมัน
4) หาสิ่งที่กระตุ้นต่อมปรี๊ดเรา จดมันออกมา แล้วผลิตวัคซีนป้องกันมัน อย่างรินเคยปรี๊ดลูกที่ลูกรินขี้แย รินก็จะปรับมุมมองว่า ลูกเป็นเด็กจิตใจอ่อนโยน ถ้าเราปรี๊ดที่ลูกทำให้เราสายทุกเช้า ลองปรับเวลาตื่นของลูก หรือถ้าเราปรี๊ดลูกที่โมโหร้าย ก้าวร้าว ก็ลองปรับมุมมองใหม่ ลูกไม่ได้ตั้งใจจะเป็นแบบนั้น ไม่มีใครมีความสุขที่ตัวเองต้องอาละวาดออกมาหรอกค่ะ ลูกกำลังต้องการความช่วยเหลือ และเราช่วยได้
5) แปะป้ายเขตปลอดความรุนแรง หรือห้ามตะโกนในบ้าน และถ้าเราจะให้รางวัลตัวเองที่เราทำได้ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ทำตารางหยุดตีไว้ ทุกครั้งที่เราคุมตัวเองอยู่ก็มาติ๊กลง พอสะสมครบก็ไปซื้อของรางวัลให้ตัวเองได้เลยค่ะ :)
6) ฝึกโยคะหรือสมาธิ มีงานวิจัยบอกว่า การทำแบบนี้จะช่วยให้เราสงบขึ้น ใจเย็นขึ้นค่ะ
นอกจากนั้นการพูดความรู้สึกของตัวเองออกไปก็ช่วยได้ เวลารินโกรธลูก รินจะบอกว่ารินโกรธ เวลารินเสียใจ รินก็จะบอกว่ารินเสียใจ พอได้พูดออกไป มันเหมือนความรู้สึกของเราได้รับการปลดปล่อย พอความรู้สึกของเรามันบรรเทาลง ก็จะรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นค่ะ
Credit: https://www.facebook.com/littleheartsbooks
และสุดท้าย มันไม่ผิดอะไรเลยที่เราจะรู้สึก ไม่มีใครควบคุมความรู้สึกได้ เพียงแต่เราต้องรู้จักที่จะแสดงออกอย่างเหมาะสม เรากำลังแสดงออกให้ลูกเห็นว่า ผู้ใหญ่เขาจัดการกับความรู้สึกกันยังไง ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะกระโดดลงไปร่วมวงในความโกลาหลของลูก ใช้ความเป็นผู้ใหญ่ของเราดึงเขาขึ้นมาจากจุดนั้นสิคะ :)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น