ไม่ตีก็ดีได้ ด้วยการชี้แนะด้วยความรัก (Loving-guidance)
ขอขอบคุณทุกๆ คนจากใจจริงๆ ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ค่ะ ขอบคุณทุกคนแทนเด็กๆ สำหรับความสนใจที่จะเลี้ยงลูกแบบไม่ใช้ความรุนแรง ขอบคุณที่กรุณาสนใจทางเลือกที่จะไม่ลงโทษ ขอบคุณในความตั้งใจที่จะไม่สร้างรอยแผลเป็นไว้ในใจคนที่เรารักที่สุดค่ะ
ยิ่งลูกโตขึ้น ทักษะสื่อสารของเราจะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นขึ้นเรื่อยๆ เพราะคำพูดของเราจะพุ่งตรงไปที่หัวใจของเขา ในเรื่องเดียวกัน ปัญหาเดียวกัน ความหมายเดียวกัน ทักษะการสื่อสารของเราสามารถทำให้ลูกรู้สึกว่าเรารักและเข้าใจ หรือเราไม่สนใจเขาเลยก็ได้
และที่สำคัญ การลงโทษจะเป็นตัวทำลายความเชื่อใจและความสัมพันธ์
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
รินศึกษาการเลี้ยงลูกและอ่านหนังสือที่จิตแพทย์เด็กเขียนตั้งแต่ท้อง แต่มาเริ่มศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกเอาตอนอัณณาอายุประมาณสองขวบค่ะ อาการ terrible two ของลูกมาตั้งแต่ขวบเศษๆ ทำให้ไม่ทันตั้งตัว และมันแย่ที่ลูกยังสื่อสารไม่ได้ ตอนนั้นรินพยายามควบคุมลูก ทำให้มีบางครั้งที่หลุดไป เคยดุ เคยตะคอก เคยขู่ลูก แต่หลังจากที่เข้าใจว่าที่จริงแล้วมันคืออะไร รินก็ค่อยๆ ปรับเข้าหาลูก สานความสัมพันธ์กันต่อ จนวันนึง ตอนอัณณาอายุประมาณสามขวบ รินก็สังเกตเห็นแววตาเป็นประกายของลูกเวลาลูกมองมาที่ริน มันเป็นแววตาที่บอกว่าเขากำลังตกหลุมรักริน
หลังจากนั้นไม่ต้องเหนื่อยใจอีกเลยค่ะ ทุกอย่างมันง่ายมาก ลูกพยายามทำทุกอย่างให้เรามีความสุข เราทำงานบ้านก็จะพยายามมาช่วย (ตอนนี้เธอมีหน้าที่หุงข้าวกับซักผ้าของตัวเองแล้วค่ะ) เราบ่นปวดหลังก็จะเดินมานวดให้ มีของเล่นหรือขนมอะไรก็จะแบ่งให้เราทุกครั้ง (เหลือชิ้นเดียวยังจะกัดครึ่งนึงแล้วแบ่งที่เหลือให้เลยค่ะ) ลูกไปกินข้าว เห็นม้าหมุนมาแสดง มันเป็นเครื่องเล่นที่ลูกอยากเล่นมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาส เราบอกไปด้วยความเห็นใจลูกว่าแม่ไม่สบาย พาไปเล่นเครื่องเล่นไม่ไหว อัณณาบอก "ไม่เป็นไร ไว้แม่หายก่อนก็ได้ แม่หายเร็วๆ นะ"
สำหรับเด็กโต การแสดงออกอาจไม่ตรงไปตรงมาขนาดนี้ แต่ความรู้สึกอยากให้คนที่เรารักมีความสุข มันไม่แตกต่างกันหรอกค่ะ ไม่ว่าจะวัยไหนก็เหมือนกัน
เวลาของทุกคนมีค่า เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
(รินขอใช้คำว่าตีแทนการลงโทษทุกชนิด ไม่ว่าจะดุด่า ตะคอก ขู่ ทำให้อาย เพื่อความง่ายในการเขียนนะคะ)
ไม่ตีแล้วจะสอนได้อย่างไร
รินจะบอกให้ว่ารินทำอะไรค่ะ
1) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูก
รินขอเน้นข้อนี้มากๆ ถ้าใครสอบผ่านข้อนี้ คุณจะรู้สึกได้เลยว่า ทำไมลูกน่ารักอย่างนี้ ทำไมเราไม่เหนื่อยใจในการเลี้ยงลูกเลย เพราะลูกจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เราพอใจ ลูกจะให้ความร่วมมืออย่างมากในทุกๆ เรื่อง
เราจะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
สิ่งนี้จะเริ่มฟักตัวตั้งแต่ลูกเกิดมาใหม่ๆ ค่ะ เมื่อลูกมีความต้องการ และเราพยายามตอบสนอง
เมื่อลูกเกิดมา เราเป็นเหมือนโลกทั้งใบของเขา เขาไม่สามารถช่วยอะไรตัวเองได้เลย เขาหิว เขาหนาว เขาเหนื่อย เขาง่วง เขาเปียก เขาเจ็บ การพยายามตอบสนองต่อความต้องการของลูก จะทำให้ลูกรู้สึกว่า โลกนี้ไม่ได้โหดร้ายจนเกินไป แม่เป็นคนทำให้โลกนี้น่าอยู่ แม่เป็นคนที่รักเขา แม่จะอยู่เคียงข้างคอยช่วยเหลือเขา ในช่วงขวบปีแรก "อย่ากลัวลูกติดมือ" ค่ะ ลูกติดมือไม่มีจริงแต่เด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น กลับสามารถพบเห็นได้ทั่วไป การทิ้งลูกให้ร้องโดยไม่ตอบสนอง เป็นการทำลายความเชื่อใจที่ลูกมีให้ และความสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความเชื่อใจเป็นรากฐานค่ะ
เมื่อลูกเกิดมา เราเป็นเหมือนโลกทั้งใบของเขา เขาไม่สามารถช่วยอะไรตัวเองได้เลย เขาหิว เขาหนาว เขาเหนื่อย เขาง่วง เขาเปียก เขาเจ็บ การพยายามตอบสนองต่อความต้องการของลูก จะทำให้ลูกรู้สึกว่า โลกนี้ไม่ได้โหดร้ายจนเกินไป แม่เป็นคนทำให้โลกนี้น่าอยู่ แม่เป็นคนที่รักเขา แม่จะอยู่เคียงข้างคอยช่วยเหลือเขา ในช่วงขวบปีแรก "อย่ากลัวลูกติดมือ" ค่ะ ลูกติดมือไม่มีจริงแต่เด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น กลับสามารถพบเห็นได้ทั่วไป การทิ้งลูกให้ร้องโดยไม่ตอบสนอง เป็นการทำลายความเชื่อใจที่ลูกมีให้ และความสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความเชื่อใจเป็นรากฐานค่ะ
เวลาผ่านมาซักหน่อย ความสัมพันธ์จะสานแน่นขึ้นด้วยการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกร่วมกัน การเล่นด้วยกัน การกอดรัด สัมผัส การเล่นที่ต้องใช้ร่างกายของเรา เช่น อุ้มโยนสูงๆ เดินบนเท้าเรา ลื่นลงจากขาเรา ขี่หลังเรา เหล่านี้จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ของเราค่ะ
ปั้นมนุษย์หิมะด้วยกันมั้ย
โตขึ้นมาอีกนิด ลูกสื่อสารได้ คำพูดและวิธีการพูดของเราจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น นอกจากการพูดคุยให้เล่นด้วยกันสนุกขึ้น เล่นทายปัญหา เล่นใบ้คำ เล่นบทบาทสมมติ เล่นระบายสี หรือแม้กระทั่งการเล่นแนวตรรกะ การใช้คำพูดแสดงความสนใจ ชื่นชมความสำเร็จเล็กๆ ของลูก (เช่น หนูระบายสีรุ้งตรงนี้สดใสดีจัง) และการยอมรับอารมณ์เชิงลบ ใช้คำพูดปลอบโยน แสดงออกว่าเข้าใจ (หนูคงผิดหวังที่ฝนตกเลยไม่ได้ไปเล่น แม่ก็ผิดหวังเหมือนกัน) จะทำให้ลูกรู้สึกว่า เราสังเกตเห็นเขา เรายอมรับ เราเข้าใจ เรารักเขาแบบไม่มีเงื่อนไข และเราเป็นพวกเดียวกับเขา
ยิ่งลูกโตขึ้น ทักษะสื่อสารของเราจะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นขึ้นเรื่อยๆ เพราะคำพูดของเราจะพุ่งตรงไปที่หัวใจของเขา ในเรื่องเดียวกัน ปัญหาเดียวกัน ความหมายเดียวกัน ทักษะการสื่อสารของเราสามารถทำให้ลูกรู้สึกว่าเรารักและเข้าใจ หรือเราไม่สนใจเขาเลยก็ได้
และที่สำคัญ การลงโทษจะเป็นตัวทำลายความเชื่อใจและความสัมพันธ์
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
รินศึกษาการเลี้ยงลูกและอ่านหนังสือที่จิตแพทย์เด็กเขียนตั้งแต่ท้อง แต่มาเริ่มศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกเอาตอนอัณณาอายุประมาณสองขวบค่ะ อาการ terrible two ของลูกมาตั้งแต่ขวบเศษๆ ทำให้ไม่ทันตั้งตัว และมันแย่ที่ลูกยังสื่อสารไม่ได้ ตอนนั้นรินพยายามควบคุมลูก ทำให้มีบางครั้งที่หลุดไป เคยดุ เคยตะคอก เคยขู่ลูก แต่หลังจากที่เข้าใจว่าที่จริงแล้วมันคืออะไร รินก็ค่อยๆ ปรับเข้าหาลูก สานความสัมพันธ์กันต่อ จนวันนึง ตอนอัณณาอายุประมาณสามขวบ รินก็สังเกตเห็นแววตาเป็นประกายของลูกเวลาลูกมองมาที่ริน มันเป็นแววตาที่บอกว่าเขากำลังตกหลุมรักริน
หลังจากนั้นไม่ต้องเหนื่อยใจอีกเลยค่ะ ทุกอย่างมันง่ายมาก ลูกพยายามทำทุกอย่างให้เรามีความสุข เราทำงานบ้านก็จะพยายามมาช่วย (ตอนนี้เธอมีหน้าที่หุงข้าวกับซักผ้าของตัวเองแล้วค่ะ) เราบ่นปวดหลังก็จะเดินมานวดให้ มีของเล่นหรือขนมอะไรก็จะแบ่งให้เราทุกครั้ง (เหลือชิ้นเดียวยังจะกัดครึ่งนึงแล้วแบ่งที่เหลือให้เลยค่ะ) ลูกไปกินข้าว เห็นม้าหมุนมาแสดง มันเป็นเครื่องเล่นที่ลูกอยากเล่นมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาส เราบอกไปด้วยความเห็นใจลูกว่าแม่ไม่สบาย พาไปเล่นเครื่องเล่นไม่ไหว อัณณาบอก "ไม่เป็นไร ไว้แม่หายก่อนก็ได้ แม่หายเร็วๆ นะ"
สำหรับเด็กโต การแสดงออกอาจไม่ตรงไปตรงมาขนาดนี้ แต่ความรู้สึกอยากให้คนที่เรารักมีความสุข มันไม่แตกต่างกันหรอกค่ะ ไม่ว่าจะวัยไหนก็เหมือนกัน
-------------------------------------------
2) ทำตัวเป็นต้นแบบที่ดี
เพราะเด็กๆ เรียนรู้จากสิ่งที่เราเป็นมากกว่าสิ่งที่เราพูด โดยเฉพาะถ้าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขาเป็นไปด้วยดี เขาจะเห็นเราเป็นต้นแบบ เราคือไอด้อลของเขา คือ คนที่มีอิทธิพลต่อเขามากที่สุดค่ะ เขาจะอยากเป็นเหมือนเรา
ข้อนี้คงไม่ต้องลงรายละเอียดเท่าไหร่ เพราะทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว เพียงแต่บางทีมันทำยากจังนะคะ :)
ข้อนี้คงไม่ต้องลงรายละเอียดเท่าไหร่ เพราะทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว เพียงแต่บางทีมันทำยากจังนะคะ :)
3) สอนให้มีความฉลาดทางอารมณ์
การสอนให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์ จะลดพฤติกรรมไม่ดีของลูกไปได้มาก บ่อยครั้งที่เบื้องหลังพฤติกรรมไม่ดีของเด็กๆ เกิดจากอารมณ์และความที่ไม่สามารถจัดการกับมันได้อย่างเหมาะสม เด็กผู้ชายไปต่อยเพื่อนปากแตก เพราะโกรธเพื่อน หรือลูกร้องกรี๊ดลงไปนอนดิ้นกับพื้นเพราะผิดหวังที่ไม่ได้ของเล่นตอนที่ยังเล็ก
การสอนให้มีความฉลาดทางอารมณ์ เริ่มได้ตั้งแต่ลูกยังแบเบาะเลยค่ะ มีงานวิจัยว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยคนที่ตอบสนองต่ออารมณ์อย่างเหมาะสม (เช่น เข้าไปปลอบเข้าไปอุ้มเมื่อลูกร้องไห้) เมื่อลูกอายุ 9 เดือน จะเติบโตมาเป็นเด็กที่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากกว่า และมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่า
สีหน้า แววตา น้ำเสียง ท่าทาง และคำพูดของเราในเวลาที่ลูกเกิดอารมณ์ต่างๆ จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการสอนทักษะทางอารมณ์ให้ลูก
นอกจากนั้น การสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ รู้จักชื่อเรียกอารมณ์นั้นๆ และการแสดงออกที่เหมาะสมเมื่อมีอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ก็จะทำให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ ในเรื่องการช่วยลูกจัดการกับอารมณ์ รินเคยเขียนไว้ใน Time-In แต่เรื่องความฉลาดทางอารมณ์เป็นหัวข้อใหญ่ เอาไว้จะเขียนอีกทีอย่างละเอียดในตอนหน้าแล้วกันนะคะ
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
การสอนความฉลาดทางอารมณ์ช่วยได้จริงหรือ? จริงค่ะ รินขอยกตัวอย่างอัณณาให้ฟัง รินก็พยายามสอนไปตามคำแนะนำของหนังสือ ด้วยวิธี Time-in จนวันนึง ลูกอยากเล่นกับยาย เดินไปหายายที่ห้อง พอดียายติดละครอยู่ ละครที่ไม่เหมาะกับเด็ก ยายเลยให้อัณณากลับมา อัณณาเดินหน้าเสียกลับมาค่ะ พูดด้วยเสี่ยงสั่นเครือ "ยายไม่อยากเล่นกับอัณณา อัณณาผิดหวัง" การที่ลูกพูดความรู้สึกออกมา มันทำให้ลูกเข้าใจว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร และมันช่วยให้ลูกสามารถควบคุมการแสดงออกของตัวเองได้ แทนที่ลูกจะระเบิดร้องไห้โฮแบบแต่ก่อนค่ะ
-------------------------------------------
4) ยอมให้ลูกได้เรียนรู้จากประสบการณ์
เราจะสอนให้ลูกเรียนรู้เหตุผล ได้รู้ว่าการตัดสินใจของเขาและการกระทำของเขาจะส่งผลต่อตัวเขา ด้วยการยอมให้ลูกได้เรียนรู้บทเรียนจากธรรมชาติ วิธีนี้จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการกระทำของเรา ลูกไม่กินข้าว ลูกจึงหิว ลูกไม่เก็บจักรยานปล่อยตากแดดไว้ จักรยานเลยพัง จึงอดเล่น
5) ใช้การให้ทางเลือกแทนการบังคับ และใช้ความหนักแน่นสม่ำเสมอในการรักษาขอบเขต
ส่วนใหญ่ที่หลายคนต้องตีลูก เพราะต้องการบังคับลูกให้ทำในสิ่งที่เราเห็นว่าต้องทำ เช่น บังคับให้ไปอาบน้ำ กินข้าว ทำการบ้าน เราจะเลี่ยงปัญหานี้ด้วยการให้ทางเลือกค่ะ ทางเลือกที่เรายอมรับได้ ไม่ว่าลูกจะเลือกทางไหน เราก็โอเค
เช่น หนูอยากจะอาบน้ำเองหรือให้แม่อาบให ้หนูอยากจะกินข้าว 15 คำหรือ 20 คำดี หนูจะทำการบ้านเลยหรือเล่นก่อนครึ่งชั่วโมงแล้วค่อยทำ
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
พูดถึงการให้ทางเลือก มีเรื่องตลกๆ เกิดขึ้นเยอะเลยค่ะ
----
แม่ : อัณณา ถึงเวลากินข้าวแล้วลูก หนูจะกิน 15 คำหรือ 20 คำดี
อัณณา : อัณณาไม่กิน 15 คำ 20 คำ อัณณาจะกิน 3 คำ (ชู 3 นิ้ว)
แม่ : 3 คำก็ได้ แต่ต้องใช้ช้อนแม่นะ // เดินเข้าครัวไป
อัณณา (หัวเราะร่วน) : อะไรน่ะแม่
แม่ : ช้อนไง ช้อนยักษ์ กิน 3 คำก็ต้องไซส์นี้แหละ (ชูทัพพีไซส์ใหญ่สุดให้ดู)
อัณณา : (หัวเราะไม่หยุด) อัณณากิน 20 คำก็ได้
----
พ่อ : อัณณา มาแปรงฟันก่อนนอนมาลูก
อัณณา : อัณณาไม่อยากแปรงฟัน อัณณาอยากเล่น
พ่อ : งั้นพ่อให้อัณณาเลือก อัณณาจะแปรงตอนนี้ หรือแปรงเลยดี
อัณณา : แปรงเลย
----
ไม่มีหนังสือเล่มไหนบอกว่าเราใช้ตัวเลือกกับลูกได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ส่วนตัวรินใช้ตั้งแต่ลูกยังไม่ 6 เดือน รินให้ลูกเลือกนิทานค่ะ ถือไว้สองมือ แล้วถามลูกว่า "อยากจะอ่านเล่มไหน" ลูกคงไม่เข้าใจที่ถามหรอกค่ะ แต่ลูกเอื้อมมือมาหยิบเล่มไหน รินก็อ่านเล่มนั้น พอเข้าวัยที่พูดได้ จะเริ่มอยากได้ตัวเลือกที่ 3 ค่ะ เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของเด็กที่มีความตั้งใจแรงกล้านะคะ (มองในแง่ดีเข้าไว้ ลูกเราแค่ต้องการยืนหยัดความคิดของตัวเองค่ะ) อย่างเช่น เราถามจะกินข้าวก่อนหรืออาบน้ำก่อน ลูกบอกจะเล่น เราก็แค่ยืนยันไปว่ามีแค่ 2 ตัวเลือก ถ้าลูกไม่เลือก เราจะเลือกให้ค่ะ
-------------------------------------------
6) สอนว่าควรทำอะไรแทนที่จะห้ามทำเพียงอย่างเดียว
บางครั้งลูกยังคิดไม่ได้หรอกค่ะ ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร การบอกลูกว่า "อย่าวิ่งบนบันได" ถ้าลูกยังมีอารมณ์สนุกอยู่ ลูกจะกระโดดบนบันไดแทน แล้วเราก็จะปวดหัวมากขึ้น การสอนลูกจึงไม่ได้การบอกว่าอะไรไม่ควรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่ควรคืออะไรด้วยค่ะ
7) สอนให้คิดแก้ปัญหาและรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง
ลูกยังเล็ก ลูกจะทำผิดพลาด และมันเป็นเรื่องธรรมดา อยู่ที่เรา ว่าเราจะเลือกให้ลูกได้เรียนรู้ หรือเราจะปล่อยมันผ่านไป และการสอนให้มีความรับผิดชอบที่ดีที่สุด คือ การให้ลูกได้แก้ปัญหาที่ตัวเองก่อด้วยตัวเอง และสอนให้คิดว่าทำอย่างไรถึงจะไม่เกิดปัญหาแบบนี้อีก การสอนให้คิดใหม่ๆ จะค่อนข้างทุลักทุเลค่ะ เพราะลูกไม่เคยต้องคิดแก้ปัญหามาก่อน และข้อมูลในหัวเขาก็ยังมีไม่มากเท่าไหร่ การสอนให้คิดแก้ปัญหาระหว่างเล่นด้วยกันก็จะช่วยให้ลูกมีทักษะการคิดที่ดีขึ้น (รินก็ไม่ได้ทำเท่าไหร่หรอกนะคะ เวลาเล่นด้วยกันทีไร เผลอสนุกอย่างเดียวอยู่บ่อยๆ)
ลูกเอาสีระบายกระจกไปทั่ว ลูกต้องแก้ไขด้วยการเช็ดออกเอง
ลูกไม่ระวังจนทำพ่อเจ็บ ลูกต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้พ่อหาย ทำอย่างไรถึงจะไม่ทำพ่อเจ็บอีก
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
แม่ : อัณณา พ่อเจ็บ ทำไงดีคะ
อัณณา : อัณณาขอโทษนะพ่อ อัณณาไม่ได้ตั้งใจ
พ่อ : พ่อไม่โกรธอัณณาหรอกลูก
แม่ : หนูขอโทษดีแล้วลูก ว่าแต่ขอโทษมันทำให้หายโกรธ แต่ไม่ได้ทำให้แผลหายนะ ทำไงดีล่ะ
อัณณา : อัณณาไม่รู้
แม่ : เวลาหนูเป็นแผล หนูต้องทำยังไงล่ะลูก
อัณณา : ล้างแผล ใส่ยา แปะพลาสเตอร์ .. อัณณาทำแผลให้นะพ่อ
แม่ : ดีจัง แต่แม่ว่าถ้าเป็นแผลบ่อยๆ ก็ไม่ดีนะ อัณณาคิดว่าทำยังไงหนูถึงจะไม่ชนพ่อเจ็บอีก
อัณณา : อัณณาจะระวังค่ะ
หลังจากนั้นลูกก็ระวังมากขึ้นค่ะ (โชคดีที่เธอไม่ได้สนุกกับการทำแผลให้พ่อเท่าไหร่ 555)
-------------------------------------------
การสอนให้มีความฉลาดทางอารมณ์ เริ่มได้ตั้งแต่ลูกยังแบเบาะเลยค่ะ มีงานวิจัยว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยคนที่ตอบสนองต่ออารมณ์อย่างเหมาะสม (เช่น เข้าไปปลอบเข้าไปอุ้มเมื่อลูกร้องไห้) เมื่อลูกอายุ 9 เดือน จะเติบโตมาเป็นเด็กที่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากกว่า และมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่า
อัณณาเป็นห่วงเด็กๆ จะขาดโปรตีน เลยขอเอาขนมและนมของตัวเองไปแบ่งน้องๆ ค่ะ
สีหน้า แววตา น้ำเสียง ท่าทาง และคำพูดของเราในเวลาที่ลูกเกิดอารมณ์ต่างๆ จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการสอนทักษะทางอารมณ์ให้ลูก
นอกจากนั้น การสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ รู้จักชื่อเรียกอารมณ์นั้นๆ และการแสดงออกที่เหมาะสมเมื่อมีอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ก็จะทำให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ ในเรื่องการช่วยลูกจัดการกับอารมณ์ รินเคยเขียนไว้ใน Time-In แต่เรื่องความฉลาดทางอารมณ์เป็นหัวข้อใหญ่ เอาไว้จะเขียนอีกทีอย่างละเอียดในตอนหน้าแล้วกันนะคะ
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
การสอนความฉลาดทางอารมณ์ช่วยได้จริงหรือ? จริงค่ะ รินขอยกตัวอย่างอัณณาให้ฟัง รินก็พยายามสอนไปตามคำแนะนำของหนังสือ ด้วยวิธี Time-in จนวันนึง ลูกอยากเล่นกับยาย เดินไปหายายที่ห้อง พอดียายติดละครอยู่ ละครที่ไม่เหมาะกับเด็ก ยายเลยให้อัณณากลับมา อัณณาเดินหน้าเสียกลับมาค่ะ พูดด้วยเสี่ยงสั่นเครือ "ยายไม่อยากเล่นกับอัณณา อัณณาผิดหวัง" การที่ลูกพูดความรู้สึกออกมา มันทำให้ลูกเข้าใจว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร และมันช่วยให้ลูกสามารถควบคุมการแสดงออกของตัวเองได้ แทนที่ลูกจะระเบิดร้องไห้โฮแบบแต่ก่อนค่ะ
-------------------------------------------
4) ยอมให้ลูกได้เรียนรู้จากประสบการณ์
เราจะสอนให้ลูกเรียนรู้เหตุผล ได้รู้ว่าการตัดสินใจของเขาและการกระทำของเขาจะส่งผลต่อตัวเขา ด้วยการยอมให้ลูกได้เรียนรู้บทเรียนจากธรรมชาติ วิธีนี้จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการกระทำของเรา ลูกไม่กินข้าว ลูกจึงหิว ลูกไม่เก็บจักรยานปล่อยตากแดดไว้ จักรยานเลยพัง จึงอดเล่น
5) ใช้การให้ทางเลือกแทนการบังคับ และใช้ความหนักแน่นสม่ำเสมอในการรักษาขอบเขต
ส่วนใหญ่ที่หลายคนต้องตีลูก เพราะต้องการบังคับลูกให้ทำในสิ่งที่เราเห็นว่าต้องทำ เช่น บังคับให้ไปอาบน้ำ กินข้าว ทำการบ้าน เราจะเลี่ยงปัญหานี้ด้วยการให้ทางเลือกค่ะ ทางเลือกที่เรายอมรับได้ ไม่ว่าลูกจะเลือกทางไหน เราก็โอเค
เช่น หนูอยากจะอาบน้ำเองหรือให้แม่อาบให ้หนูอยากจะกินข้าว 15 คำหรือ 20 คำดี หนูจะทำการบ้านเลยหรือเล่นก่อนครึ่งชั่วโมงแล้วค่อยทำ
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
พูดถึงการให้ทางเลือก มีเรื่องตลกๆ เกิดขึ้นเยอะเลยค่ะ
----
แม่ : อัณณา ถึงเวลากินข้าวแล้วลูก หนูจะกิน 15 คำหรือ 20 คำดี
อัณณา : อัณณาไม่กิน 15 คำ 20 คำ อัณณาจะกิน 3 คำ (ชู 3 นิ้ว)
แม่ : 3 คำก็ได้ แต่ต้องใช้ช้อนแม่นะ // เดินเข้าครัวไป
อัณณา (หัวเราะร่วน) : อะไรน่ะแม่
แม่ : ช้อนไง ช้อนยักษ์ กิน 3 คำก็ต้องไซส์นี้แหละ (ชูทัพพีไซส์ใหญ่สุดให้ดู)
อัณณา : (หัวเราะไม่หยุด) อัณณากิน 20 คำก็ได้
----
พ่อ : อัณณา มาแปรงฟันก่อนนอนมาลูก
อัณณา : อัณณาไม่อยากแปรงฟัน อัณณาอยากเล่น
พ่อ : งั้นพ่อให้อัณณาเลือก อัณณาจะแปรงตอนนี้ หรือแปรงเลยดี
อัณณา : แปรงเลย
----
อ่านนิทานกันค่ะ
ไม่มีหนังสือเล่มไหนบอกว่าเราใช้ตัวเลือกกับลูกได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ส่วนตัวรินใช้ตั้งแต่ลูกยังไม่ 6 เดือน รินให้ลูกเลือกนิทานค่ะ ถือไว้สองมือ แล้วถามลูกว่า "อยากจะอ่านเล่มไหน" ลูกคงไม่เข้าใจที่ถามหรอกค่ะ แต่ลูกเอื้อมมือมาหยิบเล่มไหน รินก็อ่านเล่มนั้น พอเข้าวัยที่พูดได้ จะเริ่มอยากได้ตัวเลือกที่ 3 ค่ะ เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของเด็กที่มีความตั้งใจแรงกล้านะคะ (มองในแง่ดีเข้าไว้ ลูกเราแค่ต้องการยืนหยัดความคิดของตัวเองค่ะ) อย่างเช่น เราถามจะกินข้าวก่อนหรืออาบน้ำก่อน ลูกบอกจะเล่น เราก็แค่ยืนยันไปว่ามีแค่ 2 ตัวเลือก ถ้าลูกไม่เลือก เราจะเลือกให้ค่ะ
-------------------------------------------
6) สอนว่าควรทำอะไรแทนที่จะห้ามทำเพียงอย่างเดียว
บางครั้งลูกยังคิดไม่ได้หรอกค่ะ ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร การบอกลูกว่า "อย่าวิ่งบนบันได" ถ้าลูกยังมีอารมณ์สนุกอยู่ ลูกจะกระโดดบนบันไดแทน แล้วเราก็จะปวดหัวมากขึ้น การสอนลูกจึงไม่ได้การบอกว่าอะไรไม่ควรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่ควรคืออะไรด้วยค่ะ
7) สอนให้คิดแก้ปัญหาและรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง
ลูกยังเล็ก ลูกจะทำผิดพลาด และมันเป็นเรื่องธรรมดา อยู่ที่เรา ว่าเราจะเลือกให้ลูกได้เรียนรู้ หรือเราจะปล่อยมันผ่านไป และการสอนให้มีความรับผิดชอบที่ดีที่สุด คือ การให้ลูกได้แก้ปัญหาที่ตัวเองก่อด้วยตัวเอง และสอนให้คิดว่าทำอย่างไรถึงจะไม่เกิดปัญหาแบบนี้อีก การสอนให้คิดใหม่ๆ จะค่อนข้างทุลักทุเลค่ะ เพราะลูกไม่เคยต้องคิดแก้ปัญหามาก่อน และข้อมูลในหัวเขาก็ยังมีไม่มากเท่าไหร่ การสอนให้คิดแก้ปัญหาระหว่างเล่นด้วยกันก็จะช่วยให้ลูกมีทักษะการคิดที่ดีขึ้น (รินก็ไม่ได้ทำเท่าไหร่หรอกนะคะ เวลาเล่นด้วยกันทีไร เผลอสนุกอย่างเดียวอยู่บ่อยๆ)
ลูกเอาสีระบายกระจกไปทั่ว ลูกต้องแก้ไขด้วยการเช็ดออกเอง
ลูกไม่ระวังจนทำพ่อเจ็บ ลูกต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้พ่อหาย ทำอย่างไรถึงจะไม่ทำพ่อเจ็บอีก
ทำเลอะก็ต้องเช็ด จะได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ
------ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ------
แม่ : อัณณา พ่อเจ็บ ทำไงดีคะ
อัณณา : อัณณาขอโทษนะพ่อ อัณณาไม่ได้ตั้งใจ
พ่อ : พ่อไม่โกรธอัณณาหรอกลูก
แม่ : หนูขอโทษดีแล้วลูก ว่าแต่ขอโทษมันทำให้หายโกรธ แต่ไม่ได้ทำให้แผลหายนะ ทำไงดีล่ะ
อัณณา : อัณณาไม่รู้
แม่ : เวลาหนูเป็นแผล หนูต้องทำยังไงล่ะลูก
อัณณา : ล้างแผล ใส่ยา แปะพลาสเตอร์ .. อัณณาทำแผลให้นะพ่อ
แม่ : ดีจัง แต่แม่ว่าถ้าเป็นแผลบ่อยๆ ก็ไม่ดีนะ อัณณาคิดว่าทำยังไงหนูถึงจะไม่ชนพ่อเจ็บอีก
อัณณา : อัณณาจะระวังค่ะ
หลังจากนั้นลูกก็ระวังมากขึ้นค่ะ (โชคดีที่เธอไม่ได้สนุกกับการทำแผลให้พ่อเท่าไหร่ 555)
-------------------------------------------
ฟังดูไม่ยากใช่มั้ยคะ
แต่พอคุณลองทำ คุณจะพบว่ามันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้ถูกเลี้ยงดูมาแบบนี้ (รินก็ไม่ได้ถูกเลี้ยงมาแบบนี้ และพบว่ามันยากมากๆ ค่ะ) สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณทำมันสำเร็จคือ
1) ความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการทางสมองของลูก
สิ่งนี้จะทำให้คุณรู้ว่าลูกไม่ได้ต้องการบงการคุณ จะทำให้คุณเห็นอกเห็นใจลูก และสามารถรับมือได้อย่างใจเย็น (ก่อนที่รินจะศึกษาเรื่องนี้ ขอสารภาพว่ารินเองก็หลุดกับลูกไปหลายครั้งค่ะ พอเข้าใจแล้วก็จะมองลูกในมุมที่ต่างไปจากเดิม และใจเย็นมากขึ้นมาก)
2) สติของคุณ
2) สติของคุณ
เพราะการใช้วิธีนี้ เราต้องคิด คิดก่อนพูด คิดก่อนสอน คิดก่อนตัดสินใจว่าจะจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร จะสอนอย่างไร โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้ถูกเลี้ยงดูมาด้วยวิธีนี้ การใช้สัญชาตญาณจะพาเราไปสู่การเลี้ยงดูลูกเราแบบที่พ่อแม่เราทำกับเรา
3) กำลังใจ
มันยาก มันฝืนกระแส กระแสโซเชียลที่ผู้คนรอบข้างพร้อมจะชี้มาที่ลูกเราแล้วต่อว่า กระแสกดดันให้เราตีลูกเพื่อควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ และรินขอบอกไว้ว่า ใหม่ๆ ที่ใช้การเลี้ยงลูกเชิงบวก เมื่อเราสอนทักษะทางอารมณ์ ลูกจะเหมือนมีอาการมากขึ้น เพราะแทนที่เราจะรีบจัดการเขา เรากลับมานั่งสะท้อนอารมณ์ของเขา
แต่ขอให้เชื่อเถอะค่ะ ในระยะยาว มันดีกว่าจริงๆ ดีกว่ามากๆ ดีกว่าจนแบบเดิมเทียบไม่ติดเลยค่ะ ไม่ว่ารินพาลูกไปไหน ใครได้เห็นลูกก็จะมีแต่คนชม ทั้งอารมณ์ดี ทั้งมีพฤติกรรมดี ดีจนมีแต่คนเชียร์ให้มีลูกอีกค่ะ
สำหรับคนที่สนใจอยากศึกษาการเลี้ยงลูกเชิงบวกเพิ่มเติม รินขอแนะนำหนังสือบางเล่มที่จะช่วยเราได้ รินอ่านแล้วดีจริง ช่วยรินได้จริงค่ะ (หนังสือภาษาไทยเรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่โดนใจจริงๆ ยังไม่มี ขอแนะนำเป็นหนังสือภาษาอังกฤษนะคะ ปกติรินสั่งกะ BookDepository เพราะส่งฟรีและรับผิดชอบดีค่ะ ถ้าไม่อยากรอ ที่คิโนะก็มีขายค่ะ)
The Whole-Brain Child
Peaceful Parent, HAPPY KIDS
NO-DRAMA DISCIPLINE
3) กำลังใจ
มันยาก มันฝืนกระแส กระแสโซเชียลที่ผู้คนรอบข้างพร้อมจะชี้มาที่ลูกเราแล้วต่อว่า กระแสกดดันให้เราตีลูกเพื่อควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ และรินขอบอกไว้ว่า ใหม่ๆ ที่ใช้การเลี้ยงลูกเชิงบวก เมื่อเราสอนทักษะทางอารมณ์ ลูกจะเหมือนมีอาการมากขึ้น เพราะแทนที่เราจะรีบจัดการเขา เรากลับมานั่งสะท้อนอารมณ์ของเขา
แต่ขอให้เชื่อเถอะค่ะ ในระยะยาว มันดีกว่าจริงๆ ดีกว่ามากๆ ดีกว่าจนแบบเดิมเทียบไม่ติดเลยค่ะ ไม่ว่ารินพาลูกไปไหน ใครได้เห็นลูกก็จะมีแต่คนชม ทั้งอารมณ์ดี ทั้งมีพฤติกรรมดี ดีจนมีแต่คนเชียร์ให้มีลูกอีกค่ะ
#รักลูกให้กอด
สำหรับคนที่สนใจอยากศึกษาการเลี้ยงลูกเชิงบวกเพิ่มเติม รินขอแนะนำหนังสือบางเล่มที่จะช่วยเราได้ รินอ่านแล้วดีจริง ช่วยรินได้จริงค่ะ (หนังสือภาษาไทยเรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่โดนใจจริงๆ ยังไม่มี ขอแนะนำเป็นหนังสือภาษาอังกฤษนะคะ ปกติรินสั่งกะ BookDepository เพราะส่งฟรีและรับผิดชอบดีค่ะ ถ้าไม่อยากรอ ที่คิโนะก็มีขายค่ะ)
The Whole-Brain Child
Peaceful Parent, HAPPY KIDS
NO-DRAMA DISCIPLINE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น