บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2015

ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา (Peace starts with you)

รูปภาพ
ปัญหาใหญ่ของหลายคนที่อยากจะ เลี้ยงลูกเชิงบวก คือ การจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง เราอยากจะอ่อนโยนกับลูก แต่พอถึงเวลาแล้วเราคุมตัวเองไม่อยู่ เราหลุด แล้วเราก็มานั่งเสียใจ ว่าเราไม่น่าตะคอกลูกเลย เราตีลูกทำไม เราเป็นแม่ที่แย่ .. มันทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง แล้ววงจรนี้ก็ยิ่งทำลายความเชื่อมั่นของเราว่าเราสามารถเป็นพ่อแม่ที่ดีและอ่อนโยนได้ สาเหตุหลักที่เราหลุดกับลูกอยู่ที่ตัวเรานี่แหละค่ะ ไมใช่ที่พฤติกรรมของลูก เพราะเราถือสิทธิ์ขาดในการเลือกว่าเราจะตอบสนองกับลูกอย่างไร แต่มันไม่ง่ายเลย เพราะเมื่อเรามีลูกแล้ว ชีวิตเราก็เปลี่ยนไปเกินการควบคุมของเรา จากที่ตารางชีวิตเราเคยสบายๆ ทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำ อยากแวะไหน กินอะไร กลับบ้านกี่โมง ตื่นกี่โมง แต่พอมีลูกแล้ว ชั่วโมงการนอนกับเวลาตื่นของเรานี่เรายังไม่มีสิทธิ์กำหนดเลย.. เด็กๆ มักเป็นแบบนั้น ลูกจะไม่ปรับตัวเข้ากับชีวิตเรา หรืออย่างน้อย ลูกก็ต้องใช้เวลาปรับตัว มันไม่ง่ายในช่วงปีแรกๆ ของลูกที่จะใช้ชีวิตได้เหมือนผู้ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญทุกคนแนะนำให้เราพัก เมื่อเราได้รับการดูแล เมื่อเราอารมณ์ดี เราจะจัดการทุกอย่างได้ดี แต่สำหรับเด็กเลี้ยงยากบางคน เรื...

การเล่นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ (Importance of Play)

รูปภาพ
ในการ เลี้ยงลูกเชิงบวก รากฐานที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก และวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการเล่นด้วยกัน แต่น่าเสียดายที่เด็กๆ หลายคนไม่มีโอกาสได้เล่นอย่างเต็มที่   ในโลกที่แข่งขัน เราอาจมองว่าการเล่นเป็นเรื่องเสียเวลา ลูกต้องฝึกทำโจทย์ ต้องเรียนพิเศษ เพื่อไปสอบแข่งกับคนอื่น ..   รินเห็นด้วยว่าเราต้องพัฒนาสมองลูก แต่การสร้างความสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ดังนั้น รินขอแนะนำการเล่นที่จะตอบโจทย์เราทั้งสองอย่างค่ะ 1) การเล่นแบบใช้ร่างกาย เล่นโลดโผน การเล่นแบบนี้จะทำให้สมองส่วนบนพัฒนา ทำให้รับมือกับอารมณ์และความเครียดได้ดี การที่ลูกได้สนุกตื่นเต้นและหัวเราะเต็มที่จะทำให้สารเคมีที่ดีต่อสมองหลั่งออกมา มีการเก็บข้อมูลจากโรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่นพบว่า โรงเรียนที่เล่นแบบนี้ก่อนเข้าเรียนจะทำให้เด็กๆ มีสมาธิสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ โดยจะสามารถนั่งนิ่งๆ ตั้งใจฟังคุณครูในห้องเรียนได้ นอกจากนั้น การเล่นแบบนี้ยังเป็นการเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส่งผลให้ลูกเติบโตไปเป็นคนมีบุคลิกดี ดูสง่าผ่าเผย กล้ามเนื้อหลังที่แข็งแร...

ไม่ตีก็ดีได้ ด้วยการชี้แนะด้วยความรัก (Loving-guidance)

รูปภาพ
ขอขอบคุณทุกๆ คนจากใจจริงๆ ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ค่ะ ขอบคุณทุกคนแทนเด็กๆ สำหรับความสนใจที่จะ เลี้ยงลูก แบบไม่ใช้ความรุนแรง ขอบคุณที่กรุณาสนใจทางเลือกที่จะไม่ลงโทษ ขอบคุณในความตั้งใจที่จะไม่สร้างรอยแผลเป็นไว้ในใจคนที่เรารักที่สุดค่ะ เวลาของทุกคนมีค่า เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า  (รินขอใช้คำว่าตีแทนการลงโทษทุกชนิด ไม่ว่าจะดุด่า ตะคอก ขู่ ทำให้อาย เพื่อความง่ายในการเขียนนะคะ) ไม่ตีแล้วจะสอนได้อย่างไร รินจะบอกให้ว่ารินทำอะไรค่ะ 1) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูก รินขอเน้นข้อนี้มากๆ ถ้าใครสอบผ่านข้อนี้ คุณจะรู้สึกได้เลยว่า ทำไมลูกน่ารักอย่างนี้ ทำไมเราไม่เหนื่อยใจในการเลี้ยงลูกเลย เพราะลูกจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เราพอใจ ลูกจะให้ความร่วมมืออย่างมากในทุกๆ เรื่อง เราจะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? สิ่งนี้จะเริ่มฟักตัวตั้งแต่ลูกเกิดมาใหม่ๆ ค่ะ เมื่อลูกมีความต้องการ และเราพยายามตอบสนอง เมื่อลูกเกิดมา เราเป็นเหมือนโลกทั้งใบของเขา เขาไม่สามารถช่วยอะไรตัวเองได้เลย เขาหิว เขาหนาว เขาเหนื่อย เขาง่วง เขาเปียก เขาเจ็บ การพยายามตอบสนองต่อความต้องการของลูก จะทำให้ลูกร...

ทีวี..ไม่ใช่พี่เลี้ยง (Effect of TV)

รูปภาพ
หลายๆ คนคงรู้ดีกันอยู่แล้ว ว่าเด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูทีวีเลย ตามคำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์ เพราะเด็กจะนั่งจุ้มปุ๊กอยู่หน้าทีวี ซึ่งมีภาพแว้บไปแว้บมาตลอดเวลา ไม่มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ส่งผลเสียต่อสายตา สมาธิ และขัดขวางพัฒนาการ แล้วบ้านที่คนแก่ติดทีวีล่ะ ?  เราต้องเข้าใจก่อนว่ายายไม่ได้มีหน้าที่เลี้ยงหลาน เราขอร้องให้ยายมาช่วย และทีวีมันเป็นของคู่ยุคกับเขา  ส่วนตัวรินก็ให้ยายช่วยดูลูกให้ตอนลูกยังเล็กค่ะ เราก็อธิบายให้ฟังว่าทีวีจะส่งผลต่อลูกอย่างไรเพื่อสร้างความเข้าใจให้ยายก่อน   แต่ยายอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีทีวีค่ะ รินกับสามีคิดกันว่ายายมาช่วยดูให้ดีกว่าส่งเนิสทั้งเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย เราก็เลยตกลงกันว่า จะยอมให้ยายเปิดทีวีกันนะ ในช่วงหลานยังคลานไม่ได้ก็จะขอร้องให้หันหลานไปทางอื่น สายตาจะได้ไม่เสีย และรินใช้วิธีวางทีวีไว้แค่ในห้องนอนยาย ก็จะสามารถจำกัดเวลาดูไปได้พอสมควร เพราะยายไม่สะดวกในการเลี้ยงหลานในห้อง พอหลานคลานได้ หรือเดินเตาะแตะ ยายก็ต้องวิ่งตามหลานทั้งวันแล้วค่ะ วัยแบเบาะและเตาะแตะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ อดทนไว้เดี๋ยวมันก็ผ่านไป พอถึงวัยที่ดูทีวีได้นี่แหละ ที...

เด็กเป็นผ้าขาว .. แต่เราทำผิดตรงไหน ทำไมลูกเราไม่เหมือนคนอื่น?

รูปภาพ
เคยสงสัยมั้ยคะ ทำไมเราทำตามตำราที่อ่านหรือตามคำแนะนำของคนอื่น แล้วดันได้ผลไม่เหมือนกัน? รินคิดว่า เพราะถึงเด็กแต่ล่ะคนจะเป็นผ้าขาวเหมือนกันแต่ก็มีเนื้อผ้า (พื้นนิสัย) ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนก็เป็นเด็กสบายๆ ไม่คิดมาก เด็กบางคนก็รับมือกับความเครียด กับความเปลี่ยนแปลงได้ดี ขณะที่เด็กบางคนก็รู้สึกไวต่อสิ่งเร้ารอบข้างอย่างมาก จนกลายเป็นเด็กที่เครียดง่าย ขี้กังวล ขี้ตกใจ ขี้น้อยใจ นอกจากมีพื้นนิสัยของเด็กเป็นตัวแปรแล้ว บุคลิกของพ่อแม่ก็มีส่วนเช่นกันค่ะ บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของเรา เป็นตัวกำหนดความรู้สึกและการแสดงออกของเรา ซึ่ง Adlerian Personality Priorities แบ่งไว้ 4 แบบดังนี้ค่ะ 1) เป็นเลิศ (Superiority) 2) ชอบควบคุม (Controlling) 3) เป็นที่ชื่นชอบ (Pleasing) 4) เอาอกเอาใจ (Comforting) ลองนึกภาพบุคลิกเด่นของเราออกมานะคะ บางคนเก่งทุกเรื่อง ทำอะไรต้องออกมาดีเลิศทุกอย่าง (Superiority) บางคนชอบให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม ต้องเป็นไปตามแผน ต้องคาดเดาได้ (Controlling) บางคนชอบทำให้คนอื่นมีความสุข ไม่ชอบปะทะ (Pleasing) บางคนชอบเอาอกเอาใจ อะไรก็ได้ที่ทำให้เธอพอใจ (Comforting) ...