บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2015

บทเรียนตามธรรมชาติ บทเรียนทรงคุณค่าที่ได้มาฟรีๆ (Natural Consequences)

รูปภาพ
ถ้าพูดถึงการสอนลูกให้รู้ผิดถูก ให้รู้ผลจากการกระทำ หลายคนมักนึกถึงการลงโทษหรือการตัดสิทธิพิเศษบางอย่าง เช่น ถ้าไม่กินข้าวจะอดออกไปเล่น ถ้าไม่ทำการบ้านแม่จะดุจะตี ซึ่งการวางบทลงโทษแบบนั้นมักมีราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อสอนลูก ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับลูกที่แย่ลง ความเครียดที่เราต้องเจอเพื่อสรรหาบทลงโทษที่คิดว่าเหมาะสมกับลูกเพื่อสอนลูก หรือจะเป็นความเหนื่อยที่เราต้องทนบังคับลูกให้ทำ วันนี้รินขอแนะนำบทเรียนตามธรรมชาติ ที่ถ้าเราใช้เครื่องมือชนิดนี้เป็น ลูกเราจะได้เรียนรู้โดยที่เราไม่ต้องจ่ายอะไรเลยค่ะ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ทุกอย่างในโลกนี้เป็นเหตุเป็นผลของมันอยู่แล้ว เราต้องกิน ไม่กินเราก็หิว เราต้องทำการบ้าน ไม่ทำเราก็โดนครูลงโทษ สิ่งเดียวที่เราต้องทำคือ อย่าเข้าไปปกป้องลูกจากบทเรียนตามธรรมชาตินั้นๆ ถ้ามันไม่รุนแรงจนเกินไป ลูกไม่รักษาของเล่นจนมันพังก็อย่ารีบซื้อของเล่นให้ใหม่ ลูกไม่กินข้าวจนหิวก็อย่าสรรหาขนมมาให้กินรองท้อง วิธีการใช้ 1) คิดก่อนว่า อะไรคือผลกระทบตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่กินก็จะหิว ถ้าไม่เก็บของเล่น ของเล่นก็จะหายแล้วอดเล่น ถ้าไม่ทำการบ้าน...

งานบ้านสร้างชาติ

รูปภาพ
เคล็ดลับดีๆ ที่จะสร้างลูกให้มีความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว มีความรับผิดชอบ สร้างวินัย ได้หัดวางแผน ได้ฝึกสมอง ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสิ่งที่มีอยู่ในทุกบ้าน .. "งานบ้าน" ค่ะ ไม่เชื่อใช่มั้ยคะ มาดูกันว่างานบ้านมีดีอะไร ทำไมถึงได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ 1) งานบ้านเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง ได้เห็นผลงานของตัวเอง เมื่อเด็กทำอะไรสำเร็จด้วยตัวเอง เด็กก็จะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง มีความมั่นใจ 2) งานบ้านเป็นงานของครอบครัวที่ทุกคนต้องช่วยกัน การช่วยกันดูแลบ้าน ทำให้เด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว 3) งานบ้านเปิดโอกาสให้ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก 4) งานบ้านที่ดีต้องมีการวางแผน จะทำกับข้าวก็ต้องวางแผน จะกวาดบ้านก็ต้องคิดว่าจะกวาดตรงไหนก่อน เดินตามไม้กวาด หรือเดินนำไม้กวาดดี? ยิ่งงานบ้านเยอะ การวางแผนก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นค่ะ 5) งานบ้านเป็นสิ่งที่เหนื่อย น่าเบื่อ แต่ต้องทำ และทำทุกวัน ทำให้เด็กมีความอดทน ความรับผิดชอบ และวินัยในตนเอง เห็นมั้ยคะ ว่างานบ้านมอบทักษะการใช้ชีวิตดีๆ ให้กับลูกมากมายแบบที่เราคาดไม่ถึงเลย เริ่มอยากให้ลูกได้ช่วย...

สิ่งจำเป็นพื้นฐาน 4 อย่าง (Maslow's hierarchy of needs - 4 basic needs)

รูปภาพ
บทความนี้อ้างอิงจากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และส่วนหนึ่งของหนังสือชื่อ A Parent's Guide to Gifted Children และ If I Have to Tell You One More Time นะคะ รินคิดว่าพวกเราส่วนใหญ่เคยได้เรียนหรือได้ยินทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มาแล้วทั้งนั้น แต่ลืม (รินก็เช่นกัน) จนวันนึงที่รินมีลูก เจ้าทฤษฎีนี้มันกลับมาวนเวียนอีกครั้ง และทำให้รินได้เข้าใจลูกมาขึ้น รินจะเล่าให้ฟังว่ามันเกี่ยวกับลูกเรายังไง แล้วเราจะนำมันไปใช้ยังไง ก่อนอื่น เพื่อความเข้าใจตรงกัน ความต้องการในที่นี้ มาจากภาษาอังกฤษว่า need นั่นคือ มันไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย มันเป็นสิ่งจำเป็น ขาดไม่ได้ เหมือนอากาศ เหมือนอาหาร เราต้องผ่านแต่ล่ะลำดับไปเพื่อสู่ลำดับถัดไป ทฤษฎีของมาสโลว์ว่าไว้ว่า มนุษย์เรามีลำดับขั้นความต้องการดังนี้ค่ะ  ลำดับที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) ลำดับที่ 3 ความต้องการความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Belonging and love needs) ลำดับที่ 4 ความต้องการการยอมรับ (Needs for esteem) ลำดับถัดๆ ไปจะเป็นเรื่องการเรีย...

ลูกดื้อมาก ทำอย่างไรดี?

รูปภาพ
"ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟังแบบนี้ เหมือนเราเป็นแม่ที่ไม่อบรมลูก เลี้ยงลูกไม่เป็น .. ถ้าใครกำลังมีความทุกข์กับการที่ลูกไม่เชื่อฟังอยู่ หันมาฟังทางนี้ค่ะ  การที่ลูกไม่เชื่อฟัง เป็นเรื่อง "ปกติ" ของพัฒนาการเด็ก และเป็น"เรื่องที่ดี" ค่ะ เพราะการที่เด็กดื้อ แปลว่าเขาตระหนักว่าความคิดเห็นของเขาเป็นสิ่งสำคัญ การที่เขากล้าเถียง นั่นแปลว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากพอที่เขาจะกล้าแสดงความคิดเห็นของเขาออกมา เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองจะมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่าด้วยค่ะ "ลูกดื้อ พูดอะไรก็ไม่เชื่อ ให้ทำอะไรก็เถียง เหนื่อยใจมาก" เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยคะ เรามักรู้สึกทุกข์ที่ลูกไม่เชื่อฟัง ทั้งจากความคาดหวังของเราเอง และบางครั้งก็จากสายตาคนรอบข้างที่มองมาในเชิงตำหนิว่า เลี้ยงลูกมายังไงลูกถึงได้ไม่เชื่อฟั...

ทำอย่างไรดี เมื่อผู้ใหญ่ในบ้านเห็นไม่ตรงกัน

รูปภาพ
รินคิดว่าความขัดแย้งกันในเรื่องของแนวทางการเลี้ยงดูเด็กและรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เป็นปัญหาใหญ่ของทุกๆ ครอบครัวเมื่อมีเจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นสมาชิกในบ้าน เพราะถึงแม้ทุกคนจะรักและหวังดี แต่ทุกคนก็มีความคิดเป็นของตัวเอง เราก็เลยมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยๆ และอย่างที่ทุกคนรู้กัน เด็กๆ ต้องการความสม่ำเสมอในกฎระเบียบต่างๆ ถ้าในครอบครัวมีแนวทางไม่ตรงกันก็มักจะเกิดปัญหาว่า คนนี้ไม่ให้งั้นหนูวิ่งไปขออีกคนก็ได้ สุดท้ายแล้วขอบเขตก็ไม่เป็นขอบเขต เด็กโตมาแบบไม่มีขอบเขต มีปัญหาเอาแต่ใจ หรือเกิดสถานการณ์แม่ใจร้ายพ่อใจดีในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่เข้มงวดกว่าไม่ดีนัก พอปัญหาเรื้อรังหมักหมมไว้นานเข้า สุดท้ายก็จะมีคนเริ่มทนไม่ไหว เริ่มขัดแย้งกับอีกฝ่ายต่อหน้าลูก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ เลยค่ะ เด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะเขา เด็กบางคนเรียนรู้ว่าถ้าไม่เห็นด้วยให้ทะเลาะกัน ยิ่งเสียงดังยิ่งชนะ ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายที่ยอมให้ก็จะดูไม่มีอำนาจ ไม่น่าเชื่อถือในสายตาลูก ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงกับปัญหานี้กันดี ก่อนอื่นต้องเลิกบอกว่าอีกฝ่ายต้องทำหรือต้องไม่ทำอะไรก่อนค่ะ ยิ่งสั่งยิ่งต่อต้าน...

Time-in / มุมสงบ / ธรรมชาติบำบัด ทางเลือกช่วยลูกสงบอารมณ์นอกจาก Time-out

รูปภาพ
จากที่เล่าไปในตอน Time's up for time-out?  การทำ Time-out ไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน อย่างลูกรินเองก็ใช้ Time-out ไม่ได้ เพราะลูกเป็นเด็กที่เซ้นสิทีฟมากกกกกกก รินขอแนะนำทางเลือกอื่นที่รินใช้เพื่อช่วยให้ลูกสงบแล้วได้ผลดีค่ะ อย่างแรกเลยที่รินใช้บ่อยสุดและชอบที่สุด Time-in 1) Time-in Time-in (ไทม์อิน) คือ การที่เราจะเข้าไปประกบลูก เมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือทางอารมณ์ เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง เราจะใช้ความสงบของเราช่วยลูกให้ผ่อนคลายลง และใช้การชี้นำของเราให้ลูกคิดได้ค่ะ วิธีการทำ time-in เราจะเริ่มจากการสัมผัสตัว กอด ประกบไว้ พาไปหามุมที่สงบและรู้สึกสบายด้วยกัน จะเป็นโซฟาที่บ้านหรืออะไรก็ได้ค่ะ แล้วเริ่มพูดคุยด้วยการรับฟัง แสดงความเข้าใจ สะท้อนสิ่งที่ลูกกำลังรู้สึก บอกลูกว่าลูกกำลังรู้สึกอะไร ปลอบให้ลูกสงบ และชวนคิดหาทางออกเมื่อลูกสงบแล้ว การทำ time-in จะเริ่มต้นยากนิดหน่อยถ้าอารมณ์ที่ลูกมีในตอนนั้นเป็นอารมณ์โกรธไม่ใช่อารมณ์เศร้า หรือผิดหวัง เพราะลูกจะไม่ยอมให้เรากอดง่ายๆ ค่ะ เทคนิคคือ ให้กอดลูกไว้จากด้านหลังแทน เราจะได้ไม่เจ็บตัวจากการที่ลูกดิ้นหรืออาละ...